ท่านสามารถ ร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการทำงาน ได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขา พระปิ่นเกล้า เลขที่ 031-0-03432-9 ธนาคารกรุงเทพ สาขามีนบุรี เลขที่ 145-5-24762-5 ธนาคารกสิกรไทย สาขา ปิ่นเกล้า เลขที่ 706-2-33411-2 ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาบิ๊กซี ติวานนท์(SICOTHBK) เลขที่ 382-217647-5 ทุกบัญชี ชื่อบัญชี "สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน" สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 086 628 2817 คุณอัจฉรา สรวารี
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554
แต่งตั้ง"เจตนา มีเพียร -ณัฐวุฒิญ์ มีเพียร" เป็นที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา พลเอก ธีรเดช มีเพียร วันที่ 1
แต่งตั้ง"เจตนา มีเพียร -ณัฐวุฒิญ์ มีเพียร" เป็นที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา พลเอก ธีรเดช มีเพียร
วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 16:32:14 น.
ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ ได้เผยแพร่ ประกาศวุฒิสภา เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ๒ ฉบับ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ และมาตรา ๙๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงแต่งตั้งให้ นางเจตนา มีเพียรเป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป
ประกาศฉบับที่สอง ระบุว่า ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ พลเอก ธีรเดช มีเพียร เป็นประธานวุฒิสภา ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ตามความในมาตรา ๑๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๒ มาตรา ๙๓ และมาตรา ๙๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงแต่งตั้งให้ นายณัฐวุฒิญ์ มีเพียร เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็นต้นไป http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316165586&grpid=&catid=01&subcatid=0100 |
วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554
การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนให้คนมีคุณธรรมและจริยธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม เตรียมผลักดันการตั้งกองทุนคุณธรรมปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมคนในชาติ นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน พร้อมด้วยนางสาวนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม(องค์การมหาชน)เข้าหารือนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถึงแนวทางการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนให้คนมีคุณธรรมและจริยธรรม โดยนายปราโมทย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือเข้าพบเพื่อหารือการจัดตั้งกองทุนกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการผลักดันให้คนในชาติมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหา โดยให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลัก ในการส่งเสริมคุณธรรมแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ด้านนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของคนในชาติ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงเห็นด้วยกับผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า ปัจจุบันความขัดแย้งยังมีอยู่ในประเทศไทย ทำให้การพัฒนาหยุดชะงัก จึงอยากให้คนไทยหันมาปรองดองกัน ประเทศชาติจะเดินไปข้างหน้าได้ สำหรับเรื่องของคุณธรรม หลายหน่วยงานมีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม แต่ประชาชนมักมองว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง ดังนั้น จะทำอย่างไรให้คนไทยรู้สึกภาคภูมิใจในการทำความดี และชุมชนมีส่วนร่วม ส่วนการจัดตั้งกองทุน จะศึกษาในรายละเอียดอีกครั้ง
ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : มาลี ไชโย Rewriter : คณิต จินดาวรรณ สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th วันที่ข่าว : 15 กันยายน 2554 |
กทม.จัดเสวนา คนเร่ร่อน ไร้บ้าน เพื่อแก้ปัญหาสนามหลวงอย่างยั่งยืน
กทม.จัดเสวนา คนเร่ร่อน ไร้บ้าน เพื่อแก้ปัญหาสนามหลวงอย่างยั่งยืน
กรุงเทพมหานคร จัดเสวนา คนเร่ร่อน ไร้บ้าน เพื่อแก้ปัญหาสนามหลวงอย่างยั่งยืน พร้อมจัดตั้งศูนย์รองรับการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเร่ร่อน ไร้บ้านอย่างเป็นระบบ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังร่วมเสวนา ปัญหาคนเร่ร่อน ภายใต้หัวข้อ "คนเร่ร่อน ไร้บ้าน" ว่า เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและบ้านพักคนไร้บ้านขึ้น เพื่อรองรับคนเร่ร่อนกว่า 1,000 คน ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร มีนโยบายต่อเนื่องในการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่บริเวณคลองคูเมืองเดิมให้เป็นถนนคนเดินเต็มรูปแบบ (ตลาดกลางคืน) สำหรับปัญหาคนเร่ร่อนไร้บ้านที่อาศัยอยู่บริเวณสนามหลวงและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 1,000 คน กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้ง ศูนย์ประสานงานและบ้านพักคนไร้บ้าน "บ้านอุ่นใจ" เพื่อรองรับคนเร่ร่อน ไร้บ้านระหว่างรอการช่วยเหลือ โดยเข้าพักอาศัยชั่วคราวไม่เกิน 10 วัน และรองรับคนไร้บ้านได้วันละ 30 คน ศูนย์คัดกรองคนเร่ร่อน "บ้านพักอุ่นอิ่ม" ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณสำนักงานประปาแม้นศรี(เดิม) เพื่อช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยชั่วคราว โดยรองรับคนเร่ร่อนได้วันละประมาณ 100 คน และเตรียมจัดหาเกสท์เฮ้าส์ราคาถูกให้คนเร่ร่อนที่มีกำลังทรัพย์เพียงพอ ราคาตั้งแต่ 60-300 บาท จัดสร้างห้องอาบน้ำและสุขาสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาการขับถ่ายในที่สาธารณะ นอกจากนี้ได้มีการจัดการฝึกสอนอาชีพในศูนย์คัดกรองคนเร่ร่อน 15 วิชา อาทิ ร้อยลูกปัด จัดดอกไม้ แกะสลัก เป็นต้น ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ร่วมกับวัดสวนแก้วในการเปิดโอกาสให้คนเร่ร่อนได้พัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง โดยเบื้องต้นกรุงเทพมหานครจะได้ส่งคนเร่ร่อนประมาณ 100 คน ไปยังสาขากบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรีเป็นแห่งแรก สามารถประกอบอาชีพได้ตามถนัด เช่น การเกษตรกรรม การแปรรูปผลผลิตการเกษตร ซ่อมเฟอร์นิเจอร์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น โดยจะได้รับค่าตอบแทนวันละ 100-150 บาท นอกจากนี้กรุงเทพมหานครได้เปิดบัญชีกองทุนช่วยเหลือคนเร่ร่อน เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือคนเร่ร่อน ไร้บ้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชื่อบัญชี ช่วยเหลือคนเร่ร่อน ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร บัญชีเลขที่ 088-0-05393-3
ข้อมูลข่าวและที่มา ผู้สื่อข่าว : ขวัญชนก เจริญชัย/ สวท. Rewriter : กัลยา คงยั่งยืน สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th วันที่ข่าว : 15 กันยายน 2554 |
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
ทิศทางกระทรวงตาชั่งยุค'ประชา'
วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7581 ข่าวสดรายวัน ทิศทางกระทรวงตาชั่งยุค'ประชา' รายงานพิเศษ เรื่องที่ถือว่ามีความสำคัญสูงสุด กระทรวงดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมและเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้สังคมไทยรู้รักสามัคคี ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ตลอดจนพิทักษ์ปกป้อง ป้องกัน และปราบปรามผู้กระทำความผิดต่อสถาบัน 1.นโยบายทั่วไป (1) สานต่อวิสัยทัศน์ของกระทรวง มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เน้นบูรณาการงานยุติธรรมทั้งระบบ รวมทั้งแผนงาน โครงการ และงบประมาณต่างๆ เป็นหลักเสริมสร้างความยุติธรรมอย่างทั่วถึงถ้วนหน้า โดยระดมความร่วมมือจากทุกหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน โดยเฉพาะคนจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสังคม ความสามัคคีปรองดอง และความสงบสุขของชาติบ้านเมือง (2) ปรับแผน มาตรการ และแนวทางการปฏิบัติต่างๆ รองรับนโยบายของรัฐบาล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก และนโยบายการบริหารราชการ 4 ปี บางนโยบายต้องสอดคล้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการระดับชาติที่ตั้งขึ้น เช่น คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะกรรมการตามกฎหมายพิเศษต่างๆ เช่น คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ คณะกรรมการคดีพิเศษ คณะกรรมการ ป.ป.ส., ป.ป.ง., ป.ป.ท. เป็นต้น (3) พัฒนาองค์กรและกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานตามหลักรัฐธรรมนูญและวิชาชีพ สนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง รวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรม (4) เร่งปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วยมาตรการเชิงรุก ให้เข้าถึงความเป็นธรรมได้ง่าย รวดเร็ว ทั้งการช่วยเหลือด้านกฎหมาย ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและผู้ด้อยโอกาส คุ้มครองดูแลรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน เยียวยาผู้บริสุทธิ์และผู้ได้รับผลกระทบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยุติธรรมระดับชุมชนและหมู่บ้าน นำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและการพัฒนาทางเลือกอื่นๆ มาใช้ให้มากขึ้น (5) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน สร้างภาระที่ไม่จำเป็นแก่ประชาชน พร้อมทั้งริเริ่มพัฒนากฎหมายใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในปัจจุบัน (6) ยึดหลักนิติธรรม การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ทำงานอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ ส่งเสริมกระบวนการทางสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.นโยบายเฉพาะ (1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาฟื้นฟูตามนโยบายเร่งด่วนของนโยบายรัฐบาล สนับสนุน คอป. ด้านการเยียวยา การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จะนำแนวทางข้อเสนอแนะของ คอป. ไปปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย (2) ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยระดมความร่วมมือสามัคคีของทุกฝ่ายให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วย ผู้ค้าคือผู้กระทำผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมาย นำมาตรการด้านการฟอกเงินและด้านภาษีดำเนินการกับผู้ค้าหรือนายทุน (3) แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส 'เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา' เป็นหลักปฏิบัติในทางสันติ เร่งสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ด้านการปราบปราม เน้นการทำงานเชิงบูรณาการ สนธิกำลังทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองร่วมกันสืบสวนหาข่าว ปราบปรามยาเสพติด องค์กรอาชญา กรรม ด้านการสอบสวนดำเนินคดี การลงโทษผู้กระทำผิดและการบังคับคดี ให้ร่วมกับทุกหน่วยงานเสนอแนวทางปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม (4) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ หากพบเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ให้ใช้มาตรการทางวินัยและปกครองทันที ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดชอบด้วย และให้ดำเนินคดีอาญาอย่างเฉียบขาด (5) ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามความผิดมูลฐาน สนับสนุนการบูรณาการด้านข้อมูลข่าวสาร การข่าว การดำเนินการกับทรัพย์สินและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (6) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน สานต่อนโยบายการกระจายงานจากส่วนกลางออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยขยายผลโครงการสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนำร่อง (7) แก้ปัญหานักโทษล้นคุก ให้กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ศาล ทนายความ และนักวิชาการ ให้การคุมขังให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น การใช้เครื่องพันธนาการ โซ่ตรวนกับผู้ต้องขัง (8) เสนอแนวทางปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กรมบังคับคดีสำรวจว่า 'คดีโลกร้อน' มีกี่ราย แล้วเสนอแนวทางแก้ปัญหา (9) พัฒนาการสอบสวนคดีพิเศษให้มีประสิทธิ ภาพขึ้น มีอิสระในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำผิดทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง (10) พัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ ให้สานต่อการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ทุกๆ ด้านตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง สามารถสนับสนุนการสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำผิดได้อย่างถูกต้องเที่ยงธรรม พร้อมทั้งดำเนินการในส่วนของการติดตามคนหาย การพิสูจน์ศพนิรนาม และสรุปบทเรียนที่ผ่านมา จัดทำแผนเผชิญเหตุและวางระบบงานเตรียมการรองรับเหตุภัยพิบัติต่างๆ (11) คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนจนและผู้ด้อยโอกาส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคู่ความ พยาน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม และเร่งเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริสุทธิ์และผู้ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น (12) ปรับปรุงพัฒนาระบบงานบังคับคดีทุกด้านให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งแก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ ตลอดจนให้ร่วมกับหน่วยเกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลังให้เหมาะสมกับปริมาณและคุณภาพของงาน (13) การพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ให้ยึดถือหลักปฏิบัติเสมือนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด ให้โอกาสเป็นคนดีคืนสู่สังคม ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก โดยระดมความร่วมมือจากสถาบันครอบครัวและชุมชน (14) การคุมประพฤติและบังคับบำบัด ให้แสวงหาข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ต่อการลงโทษอย่างแท้จริง มีการติดตาม ดูแลช่วยเหลือ และพัฒนาผู้กระทำผิดให้เหมาะสมมากที่สุด เพื่อให้ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข เน้นอาสาสมัครคุมประพฤติและการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับชุมชนและหมู่บ้าน พร้อมร่วมกับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องหาแนวทางเพิ่มประสิทธิ ภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด นำระบบคุมประพฤติใช้แก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นคุก (15) จัดสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาเรือนจำและทัณฑสถานให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ มีมาตรฐาน หมั่นสอดส่องดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังอย่างใกล้ชิด ให้ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขฟื้นฟูพัฒนาผู้กระทำความผิดและการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในระบบต้องโทษ และเร่งขจัดปัญหายาเสพติดในเรือนจำและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนพัวพันเกี่ยวข้อง เร่งสร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี (16) บุคลากรของกระทรวงยุติธรรมที่ปฏิบัติงานทุกกรมจะต้องมีความเสมอภาค มีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มเท่าหรือใกล้เคียงกัน และมีความก้าวหน้าที่เหมือนกัน หน้า 3 http://goo.gl/fF4JS |