มองปรากฏการณ์วัฒนธรรมในสังคมไทยร่วมสมัย
ผ่านสายตาของนักมานุษยวิทยา
ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กำลังมีโครงการจัดทำหนังสือปรากฎการณ์วัฒนธรรม ซึ่งจะมีการเลือกเหตุการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญมาอธิบาย เพื่อให้เข้าใจว่าชีวิตของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นสะท้อนเรื่องราวของยุคสมัยอย่างไร เหตุการณ์ต่างๆ อาจเป็นเรื่องใหม่ หรือเป็นเรื่องที่มีความต่อเนื่องซึ่งต้องการคำอธิบาย ดังนั้น เพื่อให้การทำหนังสือดังกล่าวบรรลุเป้าหมายและได้ข้อมูลที่เกิดประโยชน์ จึงจัดเวทีเสวนาวิชาการโดยจะเลือกนำเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจมาพูด คุยสนทนา และจะมีนักมานุษยวิทยามาให้ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์เหล่านั้น โดยแบ่งประเด็นการสนทนาเป็น 3 ประเด็น คือ ชาติพันธุ์ การทำแท้ง และสังคม ออนไลน์
ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ นักวิชาการศูนย์ฯ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและดำเนินการจัดเสวนา บอกว่า สามประเด็นที่เลือกมาจัดเสวนานี้ มีความน่าสนใจและแตกประเด็นย่อยในการมองสังคมวัฒนธรรมได้หลายแง่มุม เริ่มที่ความคิด เรื่อง “เขตวัฒนธรรมพิเศษ” เป็นความพยายามของนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการให้รัฐนำไปเป็นแนว นโยบายเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านสิทธิ และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดดังกล่าวนี้ได้รับการตอบสนองจากกระทรวงวัฒนธรรมในช่วงกลางปี 2553 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคณะทำงานด้านต่างๆ เพื่อหาแนวทางสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับสิทธิของตนเอง
“อย่าง ไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเรื่องเขตวัฒนธรรมพิเศษจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัย การประสานงานกับหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย ในสายตาของนักมานุษยวิทยาอาจมองเห็นประโยชน์ของการมีแนวคิดดังกล่าว แต่มิติทางวัฒนธรรมของการเคารพศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็น เรื่องที่ต้องทบทวน ไม่ว่าจะเป็นอคติต่อคนพื้นเมือง ความซับซ้อนของปัญหาเรื่องความเป็นพลเมือง สิทธิในที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ รวมถึงการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนไปในวัฒนธรรม บริโภคและการท่องเที่ยว”
ประเด็นเรื่อง “การทำแท้ง” ถูกมองว่าเป็นปัญหาทางศีลธรรมในสังคมไทย เป็นการเสื่อมถอยของสังคม โดยผู้หญิง จะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตี ผู้หญิงทำแท้งจะถูกมองเหมือนแม่ใจร้าย เป็นหญิงใจง่าย ใจแตก หรือเป็นคนบาปที่ฆ่าลูกของตัวเอง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือไม่พร้อมจะมีลูกจึงตกอยู่ในที่นั่ง ลำบาก ปัญหาดังกล่าวนี้มิใช่เพียงเรื่องศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของบทบาทหญิงชายในสังคม วิธีคิดเรื่องเพศ ความสัมพันธ์ทางเพศ และความรู้เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์
“ การมองปัญหาท้องไม่พร้อม ท้องในวัยเรียน และกฎหมายการทำแท้งยังมีข้อถกเถียงจากทัศนะที่ต่างกัน นักมานุษยวิทยาอาจช่วยให้สังคมทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยชี้ให้เห็นถึงมิติ ทางเพศของผู้หญิงในฐานะที่ถูกสังคมกำหนดและตีตราเอาไว้ และชี้ให้เข้าใจบริบทและเงื่อนไขชีวิตที่ผู้หญิงแต่ละคนตัดสินใจทำแท้ง รวมทั้งพิธีกรรมล้างบาปที่ ผู้หญิงจะใช้เป็นช่องทางสำนึกผิดต่อการกระทำของตน”
ความรวดเร็วของ การสื่อสารด้วยของเทคโนโลยีสื่อสารในสังคมสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต และสมาร์ทโฟน คือ การส่งข้อมูลข่าวสารที่ถี่มากขึ้น รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และเป็นปัจจุบันมากขึ้น การเติบโตของเฟซบุ้คและโซเชียล มีเดียต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยหลายล้านคนพยายามติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีการอัพเดตสถานการณ์ และแสดงออกถึงความคิดเห็นต่างๆ ทั้งเรื่องส่วนตัวและสาธารณะ
“การ ใช้เฟซบุ้คจึงมิใช่เพียงการสื่อสาร แต่ยังเป็นการเปลี่ยนรูปแบบของการสร้างกลุ่มทางสังคม การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ การแสดงตัวตน และการสำนึกของการมีอยู่ของตัวตนในโลกสมัยใหม่ นักมานุษยวิทยาอาจไม่คุ้นเคยกับโลกไซเบอร์สเปซที่มีความรวดเร็วและเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำความเข้าใจเทคโนโลยีชนิดนี้ในฐานะเป็นเครื่องมือ ที่สะท้อนอารมณ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน”
ทั้งสามประเด็นนี้เราได้ เชิญนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเฉพาะในแต่ละเรื่องมาร่วมเสวนาและให้ภาพ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งกำหนดการการเสวนาแต่ละเรื่อง จะเริ่มต้นที่ วันที่ 28 เมษายน 2554 “เขตวัฒนธรรมพิเศษ กับศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์” โดย ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร.นฤมล อรุโณทัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 27 พฤษภาคม 2554 “มิติทางเพศของการทำแท้ง : เรือนร่างผู้หญิงกับวัฒนธรรมไทย” โดย ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ และ ดร. กนกวรรณ ธาราวรรณ มหาวิทยาลัยมหิดล และสุดท้าย วันที่ 28 มิถุนายน 2554 “เฟซบุ้ค : เครือข่ายชีวิตในยุคดิจิตอล เจนเนเรชั่น” โดย ผศ.ดร.จุลนี เทียนไทย และดร.จักรกริช สังขมณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การ เสวนาจะเริ่มเวลา 13.00 น. ห้องประชุม 207 ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน ผู้สนใจร่วมเข้าฟังโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร 0 2880 9429 หรือที่ www.sac.or.th
ขอขอบคุณในการประชาสัมพันธ์
ศิวัช นนทะวงษ์ ประสานงานวิชาการ
ตารางการเสวนา นักมานุษยวิทยามองสังคมไทยร่วมสมัย
วันที่/เวลา หัวข้อเสวนา สาระสำคัญ วิทยากร ห้องเสวนา
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2554
เวลา 13.00 – 16.00 น. เขตวัฒนธรรมพิเศษ กับศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์ ในทางปฏิบัติความคิดเรื่องเขตวัฒนธรรม พิเศษจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยการประสานงานกับหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย ความซับซ้อนของปัญหาเรื่องความเป็นพลเมือง สิทธิในที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ รวมถึงการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนไปในวัฒนธรรม บริโภคและการท่องเที่ยว ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง
ดร.นฤมล อรุโณทัย ห้อง 207 ชั้น 2
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2554
เวลา 13.00 – 16.00 น. มิติทางเพศของการทำแท้ง : เรือนร่างผู้หญิงกับวัฒนธรรมไทย การมองปัญหาท้องไม่พร้อม ท้องในวัยเรียน และกฎหมายการทำแท้งยังมีข้อถกเถียงจากทัศนะที่ต่างกัน นักมานุษยวิทยาอาจช่วยให้สังคมทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยชี้ให้เห็นถึงมิติ ทางเพศของผู้หญิงในฐานะที่ถูกสังคมกำหนดและตีตราเอาไว้ และชี้ให้เข้าใจบริบทและเงื่อนไขชีวิตที่ผู้หญิงแต่ละคนตัดสินใจทำแท้ง รวมทั้งพิธีกรรมล้างบาปที่ผู้หญิงจะใช้เป็นช่องทางสำนึกผิดต่อการกระทำของ ตน ผศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์
ดร. กนกวรรณ ธาราวรรณ ห้อง 207 ชั้น 2
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2554
เวลา 13.00 – 16.00 น. เฟซบุ้ค : เครือข่ายชีวิตในยุคดิจิตอล เจนเนเรชั่น การเติบโตของเฟซบุ้คและโซเชียลมีเดีย สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยหลายล้านคนพยายามติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีการอัพเดตสถานการณ์ และแสดงออกถึงความคิดเห็นต่างๆ ทั้งเรื่องส่วนตัวและสาธารณะในฐานะเป็นเครื่องมือที่สะท้อนอารมณ์ของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน ผศ.ดร.จุลนี เทียนไทย
ดร.จักรกริช สังขมณี ห้อง 207 ชั้น 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น