วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2554 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (สายลม) เขตพญาไท กรุงเทพฯ

          - มือถือค่ายใด โทร.ใน/นอกเครือข่าย...ดีที่สุด/แย่ที่สุด?
          - เล่นเน็ตผ่านมือถือ ค่ายไหน.....เร็วสุด/ช้าสุด ?

          ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีการใช้โทรศัพท์มือถือกันมานานแล้ว แต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยังคงพบว่าผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือยังต้องพบปัญหาในเรื่องของคุณภาพการให้บริการ เช่น การโทรข้ามเครือข่ายยาก ไม่มีสัญญาณ เป็นต้น แม้ว่าจะใช้ในเขตกรุงเทพฯ ก็ตาม ขณะที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนามคมแห่งชาติ (กทช.) ได้ออกประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียง ซึ่งได้มีการกำหนดมาตรฐานการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงในบริการโทรศัพท์มือถือไว้ 5 ข้อ โดยเป็นข้อกำหนดมาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีอยู่ 3 ข้อ ได้แก่ อัตราการเรียกสำเร็จภายในโครงข่าย อัตราส่วนการเรียกสำเร็จภายนอกโครงข่าย และอัตราส่วนกรณีที่สายหลุดภายในเครือข่ายเดียวกัน แต่มาตรฐานที่ กทช. กำหนดนั้น เป็นเพียงมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือต้องมีมาตรฐานเท่านั้น แต่ในการใช้งานจริง ผู้บริโภคได้รับการบริการที่มีคุณภาพหรือไม่ อย่างไร?
          ดังนั้น สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) และสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ( TRIDI) ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงได้ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการทดสอบคุณภาพการให้บริการโทรคมนาคมประเภทเสียงในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จากมิติการใช้งานของผู้บริโภค เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยการสะท้อนประสบการณ์ในการใช้งานของผู้บริโภค ด้วยการทดสอบคุณภาพบริการโทรศัพท์มือถือ ทั้งในแง่การติดต่อไปยังโทรศัพท์มือถือภายในเครือข่ายและนอกเครือข่าย ความถูกต้องของหมายเลขโทรศัพท์ที่แสดงในจอผู้รับ ซึ่งเป็นการทดสอบที่เป็นวิทยาศาสตร์ เครือข่ายที่ถูกทดสอบครั้งนี้คือ เอไอเอส ดีแทค ทรู และฮัทช์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ธ.ค.53 - เม.ย. 54 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการทดสอบจะถูกเผยแพร่เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกใช้บริการ ซึ่งผลการทดสอบตามโครงการฯ จะเป็นอย่างไร? 
          นอกจากเรื่องคุณภาพบริการโทรศัพท์มือถือในด้านเสียงแล้ว สบท. ยังได้จัดทำโครงการทดสอบความเร็วบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อพัฒนาโปรแกรมทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือสำหรับระบบปฏิบัติการ (OS) ซึ่งทำการพัฒนาสำเร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โฉมหน้าของโปรแกรมจะเป็นเช่นไร? และผลการทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย ทั้งระบบ 2G 3G และ Wi-Fi ซึ่งทำการทดสอบการใช้งานในหลายจังหวัด ตั้งแต่ ม.ค. - มี.ค. 54 จะเป็นอย่างไร?
          สบท. จะจัดให้มีการแถลงข่าวผลการทดสอบคุณภาพการให้บริการโทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพฯ และผลการสำรวจและทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2554 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 2 อาคารอำนวยการ สำนักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน ซอย 8 (สายลม) เขตพญาไท กรุงเทพฯ เพื่อรายงานผลทดสอบทั้ง 2 โครงการ พร้อมทั้งเปิดตัวโปรแกรมทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ
 
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-6346122 สำนักสื่อสารสาธารณะและบริการประชาชน

--
http://www.thaismeplus.com/news-en/business-news/1168.html
http://projects.silodesign.nl/vcm/
http://masterpieces.asemus.museum/default.aspx
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1036185&page=32
http://twitter.com/RAFIKALGER
http://profile.imageshack.us/user/RafikH...
http://www.mixpod.com/playlist/47308482
http://fr-fr.facebook.com/people/Rafik-H...
http://www.tlcb.or.th/index.php?option=com_content&view=frontpage&Itemid=494
http://www.moeradiothai.net/home.php?webid=1
http://www.depthai.go.th/Default.aspx?tabid=114&qCategoryID=61&qKeyword=0
http://www.youtube.com/watch?v=W7giBy862zo&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=6bLZPatq53k&feature=fvw
http://www.youtube.com/watch?v=zN-LR9_IYpA
http://www.kmutt.ac.th/rippc/info.htm
http://www.fccthai.com/TheBulletin.html#517



วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

เปิดตัวอย่างรายชื่อผู้พลาดหวัง "ส.ว.สรรหา" เมื่อ "คนดี" มีพื้นที่จำกัด แม้จะไม่ลงเลือกตั้งก็เถอะ

เปิดตัวอย่างรายชื่อผู้พลาดหวัง "ส.ว.สรรหา" เมื่อ "คนดี" มีพื้นที่จำกัด แม้จะไม่ลงเลือกตั้งก็เถอะ

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 17:00:00 น.

Share


นาม ยิ้มแย้ม
 


เลิศรัตน์ รัตนวานิช
 


เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
 


ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต
 


สถิรพันธุ์ เกยานนท์
 


ขวัญสรวง อติโพธิ
 


ประกิต วาทีสาธกกิจ (ภาพจากไทยรัฐ)
 


วัลลภ ตังคณานุรักษ์
 


ดำรง พุฒตาล
 


โสภณ สุภาพงษ์
 

เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพิ่งประกาศรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาในระบบสรรหา (ส.ว.สรรหา) ชุดใหม่ จำนวน 73 ราย


วันนี้ มติชนออนไลน์ ขออนุญาตนำรายชื่อบางส่วนของผู้มีชื่อเสียงในสังคมที่เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา (จากทั้งหมด 671 คน) แต่สุดท้ายก็พลาดโอกาสเข้ามาทำงานในฐานะ ส.ว.สรรหาชุดใหม่ มานำเสนอ ดังนี้


นายนิยม ไวยรัชพานิช อดีตรองประธานวุฒิสภา


พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีต ส.ว.สรรหา


นายวรวุฒิ โรจนพานิช ส.ว.สรรหา


พล.ต.อ.สุนทร ซ้ายขวัญ อดีต ส.ว.สรรหา


นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา


ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต อดีต ส.ว.สรรหา


นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีต ส.ว.สรรหา


นายวรินทร์ เทียมจรัส อดีต ส.ว.สรรหา


พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร อดีต ส.ว.สรรหา


พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีตผบ.ทร. และอดีตสมาชิก คมช.


นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธาน คตส.


นายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีต คตส.


นายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


นายมานิต วัฒนเสน อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย


นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ


นายอนุชา โมกขะเวส อดีตอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


นายเทียนฉาย กีระนันทน์ อดีตอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นายธนู กุลชล อดีต ส.ว.สรรหา และ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ


นางสุกัญญา สุดบรรทัด อดีต ส.ว.สรรหา และที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


นายขวัญสรวง อติโพธิ อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ


นายปรีชา สุวรรณทัต นักวิชาการด้านกฎหมาย อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์


นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาตร์ และกรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย


นายอิมรอน มะลูลีม รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย


นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบ


พ.อ.สมคิด ศรีสังคม นักการเมืองอาวุโส, อดีต สสร., อดีต ส.ว.อุดรธานี


นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีต ส.ว.เชียงราย และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)


นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ อดีต ส.ว.แต่งตั้ง, อดีต ส.ว.กทม., อดีต สนช.


นายดำรง พุฒตาล อดีต ส.ว.แต่งตั้ง, อดีต ส.ว.กทม., สื่อมวลชน


นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากฯ ปิโตรเลียม, อดีต ส.ว.กทม., อดีต สนช.


นายอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีต ส.ส.กทม. พรรคพลังธรรม


นายประภัสร์ จงสงวน  อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม., อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)


นายประภัสสร เสวิกุล อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศและนักเขียน


นางชมัยภร บางคมบาง อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

 

หมายเหตุ ดูรายชื่อทั้งหมดของผู้เข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.สรรหา ชุดใหม่ ได้ที่http://www2.ect.go.th/about.php?Province=senator54&SiteMenuID=6957


                                          http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1302687101&grpid=01&catid=no

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554 ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

Chiang Mai Now!
Exhibition presenting Chiang Mai through visions of contemporary cultures

April 7th – June 19th, 2011
9th Floor, Bangkok Art and Culture Centre

Bangkok Art and Culture Centre presents an exhibition demonstrating a process of occurrences, activities, and experiments of contemporary culture that are happening currently in Chiang Mai. Curated by Angkrit Ajchariyasophon, the exhibition puts forward unique perspectives of 12 artists and contemporary cultural activists.

Departing from a question of where we are in the field of art, leads to a realm of contemporary cultures that propels Chiang Mai dynamic art and social scene.
A regional city equipped with distinct geography, diverse ethnic groups, intermingle cultures, Chiang Mai brews social complexities, giving rise to original and independent cultural organizations, artists, and cultural activists who choose the city as a base to live, research, investigate, and even experimenting in solving problems with unique approaches. It is evident in various attempts, whether it is creating alternative art spaces without support from authority, modifying the use of various media to communicate art to broader audiences, or constructing ground-works for alternative livings leading to social changes with forefront visions. All these are idiosyncratic rationalities that artists and cultural activists make use of, to challenge the condition and limitation presented by the rapidly changing society.

Placing Chiang Mai as a context, we are interested in what is happening and what is existing at the moment, not what is about to begin or what has already ended. With this reason, ‘now’ is the keyword signifying time as a stage of present, it is a dynamic word that is a motion of constant change. ‘Now’ is a stopped duration, and ‘Now’ with an exclamation mark (!) is to show imperative mood to point at a critical stage that our society is now facing.

Chiang Mai Now! does not aim to present the best cultural projects nor the most successful, rather it is to show processes and various attempts that generate cultural activities, which in turn reflect challenges, obstacles, and even defects in thinking resulting from the inequality in the social, educational, and economical backgrounds, and diverse political thinking in the various areas.
   
We need to stop for a moment, to learn, in order to collectively understand. Chiang Mai Now! , is not a project to judge or to assess value of any individuals or cultures. The exhibition merely provides a platform, for the diversity of thoughts presenting diverse minds, holding dialogue with the society at its centre, to reveal their existence and gaining recognition. It is an exhibition meant to point out the importance of ‘now’, as a juncture, as an understanding in shades of difference. And from here on, it might be a beginning of what could sustain us as a collective society.
 





Curator:
Angkrit Ajchariyasophon   

Artists and Cultural Activists:
1.   North Forest Studio
2.   PunPun
3.   ComPeung featuring Jai Arun Ravine
4.   Malateh Media Studio
5.   Lanna Bird and Nature Conservation Club
6.   Yonyang featuring Torlarp Larpjaroensook
7.   31st Century Museum of Contemporary Spirit
8.   Rabbithood Studio
9.   the land foundation
10.   ChiangMai Sunday Cycling Club
11.   DOM-CU-MEN-TA-RY
12.   Punya Movie Club




                    วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2554
                ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

09.30 น. ขอเชิญชวนนักปั่นทุกท่าน พบกันที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน
10.00 น. นักปั่นทุกท่านจะขึ้นไปบนชั้น 9 ของหอศิลป์ฯ เพื่อร่วมเปิดงาน เชียงใหม่นาว!(ในส่วนของชมรมจักรยานฯ) “ร่วมเปลี่ยนแปลงเชียงใหม่และเมืองของท่าน ให้เป็นเมืองจักรยาน” และแลกเปลี่ยน สโปคการ์ด (spoke card) ของแต่ละกลุ่ม แต่ละชมรม
11.45 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน บริเวณ ชั้น 6 ของหอศิลป์ฯ ซึ่งทุกท่าน ต้องนำอาหารมาเอง
13.30 น. ร่วมเวทีเสวนา “โอกาสและอนาคตของประเทศไทยที่จะเป็นเมืองแห่งการใช้จักรยาน”
16:30 น. สื่อมวลชนลงทะเบียน

-  สรุปผลการเสวนา แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน
-  เริ่มกิจกรรม Press Tour นิทรรศการเชียงใหม่นาว โดยภัณฑารักษ์ อังกฤษ อัจฉริยโสภณ และศิลปิน
-  กล่าวแนะนำชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา โดย นพ.รังสฤษดิ์ กาญจนวนิชย์
-  กล่าวแนะนำศูนย์พันพรรณ โดย คุณโจน จันได
-  กล่าวแนะนำนอร์ทฟอเรส สตูดิโอ โดย อาจารย์จุลพร นันทพานิช
-  กล่าวแนะนำพิพิธภัณฑ์แห่งจิตวิญญาณแห่งศตวรรษที่ 31 โดย อาจารย์คามิน เลิศชัยประเสริฐ
-  กล่าวแนะนำแร็บบิตฮู้ด สตูดิโอ โดย คุณวชิรา รุธิรกนก
-  กล่าวเปิดร้านไอศกรีม ดมคิวเมนทารี่ โดย คุณอุดม แต้พานิช
-  กล่าวแนะนำมูลนิธิที่นา โดย คุณปพนศักดิ์ ละออ
-  กล่าวแนะนำคำเปิง โดย คุณพิสิฐพงศ์ สิระพิศุทธิ์
-  กล่าวแนะนำสตูดิโอมาลาเต โดย คุณสันติภาพ อินกองงาม
-  กล่าวแนะนำปันยามูฟวี่คลับ โดย คุณบดินทร์ เทพรัตน์
-  กล่าวแนะนำบริษัทย้อนแยงสุนทรียะและต่อลาภ ลาภเจริญสุข โดยคุณศีลวัตก์ รมยานนท์ และคุณต่อลาภ ลาภเจริญสุข
   และหอศิลป์บริการ
-  สัมภาษณ์ศิลปิน

18.30 พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ

-  เริ่มงาน และกล่าวต้อนรับโดย คุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
-  กล่าวแนะนำศิลปินและนิทรรศการ โดย ภัณฑารักษ์ อังกฤษ อัจฉริยโสภณ
-  กล่าวเปิดงานโดย ม.ร.ว สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล  ผู้ว่าราชการจังหวัด- 
   เชียงใหม่ (รอการยืนยัน)
-  บรรยากาศภายในงานประกอบไปด้วย - การแสดงดนตรีโดย ดีเจชาติพันธุ์
                 -การแสดงดนตรี โดย ทีมงานย้อนแยงฯ และ ดีเจซี๊ด

21.00 เป็นต้นไป
- การแสดงดนตรี บริเวณหอศิลป์บริการ ชั้นล่าง วินมอเตอร์ไซค์ข้างหอศิลปฯ
- ปาร์ตี้ บาร์บีคิว โดยย้อนแยงฯ ณ บริเวณหอศิลป์บริการ วินมอเตอร์ไซค์ข้างหอศิลปฯ


วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2554 เวลา 13.00 - 16.00 น.ห้อง 207 ชั้น 2 ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

มองปรากฏการณ์วัฒนธรรมในสังคมไทยร่วมสมัย
ผ่านสายตาของนักมานุษยวิทยา

ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กำลังมีโครงการจัดทำหนังสือปรากฎการณ์วัฒนธรรม ซึ่งจะมีการเลือกเหตุการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญมาอธิบาย เพื่อให้เข้าใจว่าชีวิตของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นสะท้อนเรื่องราวของยุคสมัยอย่างไร   เหตุการณ์ต่างๆ อาจเป็นเรื่องใหม่ หรือเป็นเรื่องที่มีความต่อเนื่องซึ่งต้องการคำอธิบาย     ดังนั้น  เพื่อให้การทำหนังสือดังกล่าวบรรลุเป้าหมายและได้ข้อมูลที่เกิดประโยชน์   จึงจัดเวทีเสวนาวิชาการโดยจะเลือกนำเหตุการณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจมาพูด คุยสนทนา  และจะมีนักมานุษยวิทยามาให้ความคิดเห็นต่อเหตุการณ์เหล่านั้น โดยแบ่งประเด็นการสนทนาเป็น 3 ประเด็น  คือ ชาติพันธุ์ การทำแท้ง และสังคม ออนไลน์

ดร.นฤพนธ์  ด้วงวิเศษ  นักวิชาการศูนย์ฯ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและดำเนินการจัดเสวนา บอกว่า สามประเด็นที่เลือกมาจัดเสวนานี้ มีความน่าสนใจและแตกประเด็นย่อยในการมองสังคมวัฒนธรรมได้หลายแง่มุม  เริ่มที่ความคิด เรื่อง “เขตวัฒนธรรมพิเศษ” เป็นความพยายามของนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการให้รัฐนำไปเป็นแนว นโยบายเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านสิทธิ และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์  แนวคิดดังกล่าวนี้ได้รับการตอบสนองจากกระทรวงวัฒนธรรมในช่วงกลางปี 2553 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคณะทำงานด้านต่างๆ  เพื่อหาแนวทางสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์ได้รับสิทธิของตนเอง   

“อย่าง ไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเรื่องเขตวัฒนธรรมพิเศษจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัย การประสานงานกับหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย  ในสายตาของนักมานุษยวิทยาอาจมองเห็นประโยชน์ของการมีแนวคิดดังกล่าว   แต่มิติทางวัฒนธรรมของการเคารพศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็น เรื่องที่ต้องทบทวน ไม่ว่าจะเป็นอคติต่อคนพื้นเมือง ความซับซ้อนของปัญหาเรื่องความเป็นพลเมือง สิทธิในที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ  รวมถึงการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนไปในวัฒนธรรม บริโภคและการท่องเที่ยว”

ประเด็นเรื่อง “การทำแท้ง”   ถูกมองว่าเป็นปัญหาทางศีลธรรมในสังคมไทย  เป็นการเสื่อมถอยของสังคม โดยผู้หญิง จะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตี  ผู้หญิงทำแท้งจะถูกมองเหมือนแม่ใจร้าย เป็นหญิงใจง่าย ใจแตก หรือเป็นคนบาปที่ฆ่าลูกของตัวเอง  ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือไม่พร้อมจะมีลูกจึงตกอยู่ในที่นั่ง ลำบาก ปัญหาดังกล่าวนี้มิใช่เพียงเรื่องศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของบทบาทหญิงชายในสังคม  วิธีคิดเรื่องเพศ   ความสัมพันธ์ทางเพศ และความรู้เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ 
“ การมองปัญหาท้องไม่พร้อม ท้องในวัยเรียน และกฎหมายการทำแท้งยังมีข้อถกเถียงจากทัศนะที่ต่างกัน  นักมานุษยวิทยาอาจช่วยให้สังคมทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยชี้ให้เห็นถึงมิติ ทางเพศของผู้หญิงในฐานะที่ถูกสังคมกำหนดและตีตราเอาไว้  และชี้ให้เข้าใจบริบทและเงื่อนไขชีวิตที่ผู้หญิงแต่ละคนตัดสินใจทำแท้ง รวมทั้งพิธีกรรมล้างบาปที่     ผู้หญิงจะใช้เป็นช่องทางสำนึกผิดต่อการกระทำของตน”

ความรวดเร็วของ การสื่อสารด้วยของเทคโนโลยีสื่อสารในสังคมสมัยใหม่  ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต และสมาร์ทโฟน  คือ การส่งข้อมูลข่าวสารที่ถี่มากขึ้น  รวดเร็วขึ้น  ง่ายขึ้น และเป็นปัจจุบันมากขึ้น   การเติบโตของเฟซบุ้คและโซเชียล มีเดียต่างๆ  สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยหลายล้านคนพยายามติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร   มีการอัพเดตสถานการณ์  และแสดงออกถึงความคิดเห็นต่างๆ ทั้งเรื่องส่วนตัวและสาธารณะ 

“การ ใช้เฟซบุ้คจึงมิใช่เพียงการสื่อสาร แต่ยังเป็นการเปลี่ยนรูปแบบของการสร้างกลุ่มทางสังคม  การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ การแสดงตัวตน และการสำนึกของการมีอยู่ของตัวตนในโลกสมัยใหม่  นักมานุษยวิทยาอาจไม่คุ้นเคยกับโลกไซเบอร์สเปซที่มีความรวดเร็วและเปลี่ยน อยู่ตลอดเวลา แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำความเข้าใจเทคโนโลยีชนิดนี้ในฐานะเป็นเครื่องมือ ที่สะท้อนอารมณ์ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน”

ทั้งสามประเด็นนี้เราได้ เชิญนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาเฉพาะในแต่ละเรื่องมาร่วมเสวนาและให้ภาพ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งกำหนดการการเสวนาแต่ละเรื่อง   จะเริ่มต้นที่ วันที่ 28 เมษายน 2554  “เขตวัฒนธรรมพิเศษ กับศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์”  โดย ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และ ดร.นฤมล  อรุโณทัย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     วันที่ 27 พฤษภาคม 2554  “มิติทางเพศของการทำแท้ง : เรือนร่างผู้หญิงกับวัฒนธรรมไทย” โดย  ผศ.ดร.สุชาดา  ทวีสิทธิ์   และ ดร. กนกวรรณ ธาราวรรณ  มหาวิทยาลัยมหิดล  และสุดท้าย วันที่ 28 มิถุนายน 2554  “เฟซบุ้ค : เครือข่ายชีวิตในยุคดิจิตอล เจนเนเรชั่น” โดย ผศ.ดร.จุลนี  เทียนไทย   และดร.จักรกริช  สังขมณี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การ เสวนาจะเริ่มเวลา 13.00 น. ห้องประชุม 207 ชั้น 2 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน ผู้สนใจร่วมเข้าฟังโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามโทร 0 2880 9429 หรือที่ www.sac.or.th



ขอขอบคุณในการประชาสัมพันธ์
ศิวัช  นนทะวงษ์  ประสานงานวิชาการ



ตารางการเสวนา นักมานุษยวิทยามองสังคมไทยร่วมสมัย

วันที่/เวลา   หัวข้อเสวนา   สาระสำคัญ   วิทยากร   ห้องเสวนา

วันพฤหัสบดีที่  28 เมษายน  2554

เวลา 13.00 – 16.00 น.    เขตวัฒนธรรมพิเศษ กับศักดิ์ศรีของกลุ่มชาติพันธุ์   ในทางปฏิบัติความคิดเรื่องเขตวัฒนธรรม พิเศษจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยการประสานงานกับหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน ซึ่งยังมีความคิดที่แตกต่างหลากหลาย ความซับซ้อนของปัญหาเรื่องความเป็นพลเมือง สิทธิในที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ  รวมถึงการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปลี่ยนไปในวัฒนธรรม บริโภคและการท่องเที่ยว    ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง       
ดร.นฤมล  อรุโณทัย   ห้อง 207 ชั้น 2

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม  2554

เวลา 13.00 – 16.00 น.   มิติทางเพศของการทำแท้ง : เรือนร่างผู้หญิงกับวัฒนธรรมไทย   การมองปัญหาท้องไม่พร้อม ท้องในวัยเรียน และกฎหมายการทำแท้งยังมีข้อถกเถียงจากทัศนะที่ต่างกัน  นักมานุษยวิทยาอาจช่วยให้สังคมทำความเข้าใจเรื่องนี้โดยชี้ให้เห็นถึงมิติ ทางเพศของผู้หญิงในฐานะที่ถูกสังคมกำหนดและตีตราเอาไว้  และชี้ให้เข้าใจบริบทและเงื่อนไขชีวิตที่ผู้หญิงแต่ละคนตัดสินใจทำแท้ง รวมทั้งพิธีกรรมล้างบาปที่ผู้หญิงจะใช้เป็นช่องทางสำนึกผิดต่อการกระทำของ ตน   ผศ.ดร.สุชาดา  ทวีสิทธิ์     
 ดร. กนกวรรณ ธาราวรรณ     ห้อง 207 ชั้น 2

วันอังคารที่  28 มิถุนายน  2554

เวลา 13.00 – 16.00 น.   เฟซบุ้ค : เครือข่ายชีวิตในยุคดิจิตอล เจนเนเรชั่น   การเติบโตของเฟซบุ้คและโซเชียลมีเดีย สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยหลายล้านคนพยายามติดต่อสื่อสารกับคนอื่นๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีการอัพเดตสถานการณ์ และแสดงออกถึงความคิดเห็นต่างๆ ทั้งเรื่องส่วนตัวและสาธารณะในฐานะเป็นเครื่องมือที่สะท้อนอารมณ์ของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน   ผศ.ดร.จุลนี  เทียนไทย   
ดร.จักรกริช  สังขมณี   ห้อง 207 ชั้น 2


วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม 220 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

สำนักงานนวัตกรรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) [สนช.]
ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย

"Bioplastics Focus: พลาสติกชีวภาพ…นวัตกรรมเพื่อโลกสีเขียว"

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน 2554 เวลา 13.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุม 220 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา


 

วันพฤหัสที่ 21 เมษายน 2554 เวลา 17.00 น. ถึง 21.00 น อาคารปรีดีย์พนมยงค์ ทองหล่อ

งานนิทรรศการแสดงผลงานนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ "Creative Kitchen: Serve Up Your Imagination"
          ขอ เรียนเชิญผู้สนใจ ร่วมชมงานนิทรรศการแสดงผลงานด้านการวิเคราะห์และการวางแผนงานโฆษณาของนัก ศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Creative Kitchen: Serve Up Your Imagination" หรือ "ห้องครัวแห่งการสร้างสรรค์"
          สถานที่: อาคารปรีดีย์พนมยงค์ ทองหล่อ
          วัน-เวลา: วันพฤหัสที่ 21 เมษายน 2554 เวลา 17.00 น. ถึง 21.00 น