วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องเสวนา ชั้น ๖ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

๑. หลักการและเหตุผล
          การ สอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ในระบบ Admission ในปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๙ แทนระบบเอ็นทรานซ์ที่ใช้อยู่เดิม โดยมีองค์ประกอบในการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัย คือ 

          ๑. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (GPAX) 
          ๒. ผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test : O - NET) 
          ๓. ผลการสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) ๔. ผลการสอบความถนัดเฉพาะด้านวิชาการ ( Professional Aptitude Test หรือ PAD ) ซึ่งการรับสมัครสอบระบบ Admission จะเปิดรับสมัครเฉพาะทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อนักเรียนหรือผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลสารสนเทศ (ICT) ได้ทั่วถึง 

          ดัง นั้นคณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน จึงเห็นควรจัดการสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชน รวมทั้งระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของสังคมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อ ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสอบแข่งขันในระบบ Admission ได้เข้าใจสภาพปัญหาที่เกิด
          จาก การรับสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว ว่าอาจมีผลกระทบต่อผู้สมัครจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบข้อมูล สารสนเทศ (ICT) ของรัฐอย่างทั่วถึง เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมและให้เกิดความเป็นธรรมกับบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย ชน ซึ่งจะเป็นการทำความเข้าใจที่ถูกต้องและสร้างการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนใน สังคมไทย 

          ๒. วัตถุประสงค์
          ๒.๑ เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้และยกระดับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องสิทธิทางการศึกษา โดยเฉพาะการรับสมัครสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันซึ่ง นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สมัคร แต่ขณะเดียวกันอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้เช่นกัน 
          ๒.๒ เพื่อเป็นเวทีให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการแสดงออกซึ่งความคิด เห็นและสะท้อนแนวคิดเพื่อให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 
          ๒.๓ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์องค์กร

          ๓. กลุ่มเป้าหมาย
          จำนวน ๑๕๐ คน ประกอบด้วย
          ๓.๑ นักเรียน นิสิต นักศึกษา
          ๓.๒ ประชาชนที่สนใจ 
          ๓.๓ นักวิชาการสถาบันการศึกษา / นักวิชาการอิสระ
          ๓.๔ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ
          ๓.๕ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคม
          ๓.๖ สื่อมวลชน
          ๓.๗ อนุกรรมการฯ
          ๓.๘ เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ

          ๔. ระยะเวลาดำเนินงาน

          วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องเสวนา ชั้น ๖ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 

          ๕. ผู้รับผิดชอบโครงการ
          - คณะอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน
          - สำนักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย

          ๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ๖.๑ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสอบสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในระบบ Admission เข้าใจและตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชนและนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมในการกำหนดรูปแบบการรับสมัครสอบแข่งขันที่เอื้อประโยชน์และเป็นธรรมกับผู้สมัครทุกฝ่าย 
          ๖.๒ ประชาชนเห็นความสำคัญและสนใจติดตามการสัมมนา ซึ่งจะก่อให้เกิดการยกระดับการรับรู้และจิตสำนึกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 
          ๖.๓ ประชาชนได้มีโอกาสสะท้อนมุมมอง ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถประมวลข้อคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไป 
          ๖.๔ สาธารณชนให้ความเชื่อถือและการยอมรับต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
          ๖.๕ สื่อมวลชนให้ความสนใจและนำผลการสัมมนาไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักและการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมอย่างกว้างขวางต่อไป 
          ๖.๖ เป็นการเผยแพร่กิจกรรมและสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่รู้จักของสังคม 

          กำหนดการ

เวลา ๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ นาฬิกา - ลงทะเบียนการสัมมนา

เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๓.๔๕ นาฬิกา - กล่าวเปิดและแจ้งวัตถุประสงค์การสัมมนา
โดย นายแท้จริง ศิริพานิช
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน
เวลา ๑๓.๔๕ – ๑๖.๓๐ นาฬิกา - อภิปรายเรื่อง " รับสมัครเฉพาะทางเน็ต : ละเมิดสิทธิจริงหรือ? "
โดย
๑. เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
๒. นายอำนวย สุนทรโชติ
ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ
๓. รศ. นพ. สรนิต ศิลธรรม
รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. นางสาวศรัญญา จันนามวงค์ ตัวแทนนักเรียน
ดำเนินรายการโดย นายธีรพันธ์ นาทีกาญจนลาภ
อนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน
เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา - กล่าวปิดการสัมมนา
โดย นายแท้จริง ศิริพานิช
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ประธานอนุกรรมการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน 

          หมายเหตุ - ถ่ายทอดสดทางเครือข่ายวิทยุชุมชนและวิทยุอินเทอร์เน็ต ๒๐ สถานีทั่วประเทศ
          - บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มในห้องประชุม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น