วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ซินแสทำนาย ปี 55 ท่วมหนักกว่าปี 54

 

ซินแสทำนาย ปี 55 ท่วมหนักกว่าปี 54

 

"ซินแสไฮเทค" เผยดวงปีมะโรง 2555 เป็นปี "มังกรคะนองน้ำ" มีฟ้าเป็นพลังธาตุน้ำ จะส่งผลไม่ดีตั้งแต่กลางปีจะเกิดภัยธรรมชาติหลากหลาย โดยเฉพาะภัยจากน้ำจะหนักกว่าปี 2554 อาจเกิดสึนามิถล่มฝั่งอ่าวไทย ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจยังแย่ การเมืองขัดแย้งรุนแรง ขณะที่ดวงนายกฯ "ยิ่งลักษณ์" ธาตุไฟ ปีนี้จะแพ้น้ำ แต่ถ้าประคองตัวจะอยู่ได้ถึงปลายปี

หมอดูคนดังทำนายทายทักสถานการณ์บ้านเมือง มีขึ้นที่สถาบันค้นคว้าวิชาฮวงจุ้ยแห่งประเทศไทย อาคาร สเตท ทาวเวอร์ ถนนสีลม เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. นายมาศ เคหาส์นธรรม เจ้าของฉายา "ซินแสไฮเทค" แถลงผลการทำนายดวงปีมะโรง 2555 ตามหลักฮวงจุ้ยว่า ปีมะโรงปี 2555 จะชงกับปีจอ สีเงินสีทองเป็นสีมงคล ส่วนสีเขียวจะไม่ดี เป็นปีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหลากหลาย เป็นปีที่มีธาตุน้ำเป็นราศีบน ราศีล่างเป็นมะโรง ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมังกร แต่จะเป็นมังกรคะนองน้ำ ปีหน้าภัยจากน้ำจึงน่ากลัวกว่าปีนี้ เนื่องจากมีพลังฟ้าเป็นธาตุน้ำ พลังดินเป็นคลังน้ำ เป็นซุปเปอร์น้ำที่ในรอบ 60 ปีจะเกิดขึ้นครั้งหนึ่ง

นายมาศ กล่าวว่า ปีมังกรคะนองน้ำ จะส่งผลต่อโลกและประเทศไทย ด้วยชุดพลังงานของธาตุน้ำที่มาพร้อมกับคลังน้ำ เหตุการณ์ในปีมังกรเรื่องที่ใหญ่ที่สุด ก็ยังคงไม่พ้นที่จะเกี่ยวกับน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลื่นยักษ์สึนามิ พายุฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่จำนวนหลายสิบลูก หรือ สตอร์มเซิร์จ ซึ่งจะสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดจากด้านทิศใต้ของไทย แต่ครั้งนี้จะมาในฝั่งอ่าวไทย อาจส่งผลกับหลายจังหวัดชายฝั่ง จึงควรเตรียมรับมือไว้ให้ดี โดยในเดือน ต.ค. จะเป็นเดือนที่วิกฤติเลวร้ายที่สุด ส่วนในกรุงเทพฯ น้ำจะยังมาก แต่น้ำจะมา จากฝน ไม่ได้ไหลหลากมาจากทางเหนือเหมือนปีนี้ ขณะที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัญหาน้ำท่วมจากประเทศไทยจะกระทบต่อเนื่องกับภูมิภาคแถบนี้และทั่วโลก คนทั่วโลกจะเห็นความสำคัญของแหล่งผลิตอาหาร ภาคการส่งออกในแถบนี้จะน้อยลง แต่มีการดึงการ ลงทุนจากทั่วโลกได้มากขึ้น ภูมิอากาศแถบนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงบ่อย เกิดโรคภัยใหม่ๆ และภัยธรรมชาติมากอย่างต่อเนื่อง

นายมาศ กล่าวว่า ในด้านเศรษฐกิจโลก ปีมังกรธาตุน้ำจัดว่าเป็นปีมีความคึกคัก จะมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น เมื่อมีพลังธาตุน้ำเข้ามาเสริม จะทำให้คนที่พบช่องทางมีความมั่งคั่งร่ำรวยมากขึ้น ประเทศจีนเศรษฐกิจจะ เติบโต ด้วยพลังอำนาจที่ดีในปีนี้มาเยือน จะทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายฐานและเจริญรุ่งเรืองประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่วนสหรัฐอเมริกาจะเจริญรุ่งเรืองทางการค้าการลงทุนเช่นกัน หลังจากที่ถดถอยไปนาน ค่าเงินดอลลาร์ จะแข็งขึ้น ประเทศรัสเซีย จะมีการแข่งขันอย่างมากทั้งด้านต่างประเทศและเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวจะมีการขยาย ตัว การเกษตรมีบทบาทเพิ่มขึ้น มีการเลือกตั้งเพื่อแย่งอำนาจภายใน ทำให้ระบบการเงินแพร่สะพัดอย่างมาก แต่ให้จับตาดูเกาหลีเหนือจะยังคงสร้างความหวาดหวั่นให้กับประเทศรอบข้าง ส่วนญี่ปุ่นยังมีโอกาสพบกับภัยธรรมชาติอีกในปีนี้ รวมถึงผลกระทบทางการเมืองในเรื่อง การเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีด้วย

สำหรับประเทศไทย ซินแสชื่อดังกล่าวว่า จะเริ่มมีผลกระทบในครึ่งปีหลัง ตั้งแต่เดือน มิ.ย.ทั้งเหนือและใต้วิกฤติหนัก น้ำจะสร้างปัญหา การเกษตรระวังโรคระบาดมากับน้ำ แรงงานประท้วง ชายแดนใต้เกิดความรุนแรง ผู้นำจะถูกท้าทายอำนาจสารพัด เรื่องฉาวถูกขุดคุ้ย ในเดือน ส.ค. ภาพพจน์ทหารและการเมืองจะดีขึ้น ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ยกเว้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง และรถยนต์จะยังดี การลงทุนทองคำราคาดีตั้งแต่ต้นปีสามารถหาซื้อเก็บไว้ทำกำไรได้เลย โดยเดือน ม.ค. และ ต.ค. ราคาทองคำจะพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  ส่วนตลาดหุ้นจะย่ำแย่ตั้งแต่ต้นปี แต่หลัง ก.พ. จะดีขึ้นบางจังหวะ และไปพุ่งทะยานขึ้นในเดือน มิ.ย. จนถึงช่วง ส.ค. จะเริ่มดิ่งลงและไม่ดีไปจนถึงปลายปี

ซินแสชื่อดังกล่าวถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วยว่า นายกฯเป็นคนธาตุไฟ ปีนี้จะดวงไม่ดี เพราะเป็นปีธาตุน้ำ ดับไฟ ประกอบกับตามหลักการนับของจีน  นายกฯ จะตกอายุที่ 46 ปี มีร่องแก้มขวาเป็นร่อง จะไม่ราบรื่น ปีหน้าจะอยู่ได้ยาก ตอนปลายปี ตั้งแต่ ต.ค. จะเริ่มมีปัญหารุนแรง และ ธ.ค. จะเป็นเดือนเลวร้ายที่สุด แต่ถ้าอยู่แบบประคองตัวจะอยู่ได้อีก 1 ปี ทางแก้ไขจะต้องหารัฐมนตรีที่มีโหงวเฮ้งธาตุดิน ซึ่งจะมีลักษณะไหล่หนาๆ ตัวตันๆ มาช่วยทำงาน โดยเฉพาะต้องเป็นคนจัดการเรื่องน้ำได้ดี และปีหน้าทิศของทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภายังไปชงกับทิศจอ ซึ่งเป็นทิศไม่ดีเลยยิ่งไปกันใหญ่ จึงขอเตือนห้ามตกแต่ง ขุด เคาะ เจาะ ในทางทิศใต้ เพราะเป็นทิศที่จะส่งผลร้าย สำหรับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะยังไม่ได้กลับประเทศ ไทย ขณะที่รัฐมนตรีปีหน้ามีคนดีหลายคน อาทิ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ส่วนที่ดวงไม่ดีนอกจากนายกฯยังมีนายธีระ วงศ์สมุทร นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์

Tweet

 
 
ที่มา : www.thairath.co.th

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กระทบทั่วโลก! "วิกิพีเดีย"ประกาศขู่"ปิดเว็บไซต์"ประท้วงสหรัฐผ่านกม.ต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัว

กระทบทั่วโลก! "วิกิพีเดีย"ประกาศขู่"ปิดเว็บไซต์"ประท้วงสหรัฐผ่านกม.ต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัว

วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:30:26 น.

Share




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ว่า นายจิมมี่ เวลส์ ผู้ก่อตั้ง"วิกิพีเดีย"เว็บไซต์คลังสารานุกรมรวบรวมความรู้ทั่วโลกชื่อดัง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนกว่า 365 ล้านทั่วโลก และติดอันดับเว็บไซต์ยอดฮิตอันดับหกของโลก ได้ประกาศจะปิดเว็บไซต์ เพื่อประท้วงกฎหมายต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ ระบุว่า การกระทำนี้อย่างน้อยที่สุดจะเป็นเพิ่มแรงกดดันให้สหรัฐยกเลิกการผ่านกฎหมายดังกล่าว ที่จะมีผลกระทบต่อเว็บไซต์วิกิพีเดียในอนาคต และเป็นมาตรการใหญ่โตที่วิกิพีเดียไม่เคยทำมาก่อน โดยวิกิพีเดียมีแผนจะปิดเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ เพื่อต่อต้านต่อกฎหมายต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ หรือ"The Stop online Piracy Act" ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการยุติธรรมสภาล่างสหรัฐ

 

รายงานระบุว่า กฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาห้ามก๊อปปี้ข้อความทางออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลให้วิกิพีเดีย ซึ่งมีระบบให้ผู้คนทั่วโลก ร่วมกันให้ข้อมูลแก่เนื้อหาต่างๆ  ทุกประเภท มีภัยเสี่ยงที่จะเผชิญข้อหาทางคดีอาญา และที่ผ่านมา ปฏิบัติการขู่ดังกล่าวของวิกิพีเดีย ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนบางกลุ่ม โดยมีผู้คนหลายร้อยรายแสดงความเห็นในหมวด"สนับสนุนการปิดเว็บไซต์วิกิพีเดีย"บางรายระบุว่า กฎหมายดังกล่าวของสหรัฐเป็นภัยคุกคามต่ออินเตอร์เนท และจะต้องถูกยกเลิก

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ วิกีพีเดียยังได้ดำเนินมาตรการเช่นนี้กับบางประเทศที่มีกฎหมายกระทบต่อการให้ข้อมูลของวิกิพีเดีย เช่น อิตาลี ที่มีการกฎหมายกำหนดให้การเผยแพร่ข้อมูลการดักฟังโทรศัพท์ของตำรวจ มีความผิดเป็นคดีอาญา โดยชุมชน"วิกิพีเดีย"ภาคภาษาอิตาลี ได้ตัดสินใจที่จะระงับการให้บริการ"วิกิพีเดีย"ในระยะสั้นเพื่อประท้วงกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะกระทบต่อวิกิพีเดีย ในอนาคต และส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีถอนมาตรการดังกล่าวทันที


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323839290&grpid=01&catid=&subcatid=

 

กระทบทั่วโลก! "วิกิพีเดีย"ประกาศขู่"ปิดเว็บไซต์"ประท้วงสหรัฐผ่านกม.ต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัว

กระทบทั่วโลก! "วิกิพีเดีย"ประกาศขู่"ปิดเว็บไซต์"ประท้วงสหรัฐผ่านกม.ต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัว

วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 12:30:26 น.

Share




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.ว่า นายจิมมี่ เวลส์ ผู้ก่อตั้ง"วิกิพีเดีย"เว็บไซต์คลังสารานุกรมรวบรวมความรู้ทั่วโลกชื่อดัง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนกว่า 365 ล้านทั่วโลก และติดอันดับเว็บไซต์ยอดฮิตอันดับหกของโลก ได้ประกาศจะปิดเว็บไซต์ เพื่อประท้วงกฎหมายต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ ระบุว่า การกระทำนี้อย่างน้อยที่สุดจะเป็นเพิ่มแรงกดดันให้สหรัฐยกเลิกการผ่านกฎหมายดังกล่าว ที่จะมีผลกระทบต่อเว็บไซต์วิกิพีเดียในอนาคต และเป็นมาตรการใหญ่โตที่วิกิพีเดียไม่เคยทำมาก่อน โดยวิกิพีเดียมีแผนจะปิดเว็บไซต์ภาคภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ เพื่อต่อต้านต่อกฎหมายต่อต้านการคุกคามความเป็นส่วนตัวของสหรัฐ หรือ"The Stop online Piracy Act" ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการยุติธรรมสภาล่างสหรัฐ

 

รายงานระบุว่า กฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาห้ามก๊อปปี้ข้อความทางออนไลน์ ซึ่งจะส่งผลให้วิกิพีเดีย ซึ่งมีระบบให้ผู้คนทั่วโลก ร่วมกันให้ข้อมูลแก่เนื้อหาต่างๆ  ทุกประเภท มีภัยเสี่ยงที่จะเผชิญข้อหาทางคดีอาญา และที่ผ่านมา ปฏิบัติการขู่ดังกล่าวของวิกิพีเดีย ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนบางกลุ่ม โดยมีผู้คนหลายร้อยรายแสดงความเห็นในหมวด"สนับสนุนการปิดเว็บไซต์วิกิพีเดีย"บางรายระบุว่า กฎหมายดังกล่าวของสหรัฐเป็นภัยคุกคามต่ออินเตอร์เนท และจะต้องถูกยกเลิก

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ วิกีพีเดียยังได้ดำเนินมาตรการเช่นนี้กับบางประเทศที่มีกฎหมายกระทบต่อการให้ข้อมูลของวิกิพีเดีย เช่น อิตาลี ที่มีการกฎหมายกำหนดให้การเผยแพร่ข้อมูลการดักฟังโทรศัพท์ของตำรวจ มีความผิดเป็นคดีอาญา โดยชุมชน"วิกิพีเดีย"ภาคภาษาอิตาลี ได้ตัดสินใจที่จะระงับการให้บริการ"วิกิพีเดีย"ในระยะสั้นเพื่อประท้วงกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะกระทบต่อวิกิพีเดีย ในอนาคต และส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีถอนมาตรการดังกล่าวทันที


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323839290&grpid=01&catid=&subcatid=

 

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บุหลันลอยเลื่อน (ออร์เครสตร้า)


บุหลันลอยเลื่อน
เพลงอัตราจังหวะสองชั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงจำทำนองได้จากพระสุบินนิมิต เนื่องจากทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปในรมยสถานแห่งหนึ่งและได้สดับเพลงนี้ในคืนจันทร์เพ็ญเต็มดวงจึงพระราชทานน­ามว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน นอกจากน้ยังมีผู้เรียกชื่อแตกต่างไป เช่น บุหลันลอยฟ้า ทรงพระสุบินสรรเสริญพระจันทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เคยใช้เป็นเพลงร้องสรรเสริญพระบารมี เรียกชื่อว่า สรรเสริญพระบารมีไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงแต่งแปลงทำนองเป็นแบบตะวันตก สำหรับใช้เป็นเพลงสรรเสริญของเสือป่า เรียกชื่อว่า เพลงสรรเสริญเสือป่า ภายหลังมีผู้แต่งขยายเป็นสามชั้น แต่ไม่แพร่หลาย (บรรเลงโดย ดุริยางค์ศิลป์มหิดล)

คำหวาน-อาลัยรัก.wmv


เพลงนี้มาจากอัลบั้มชุด อะลัว เพลงไทยหวานๆ งานเรียบเรียงเพลงของ
อ.บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ แห่งม.รังสิต บรรเลงซอสามสายโดยอ.เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี
ศิลปินวงกอไผ่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

70 ปี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับคณะนิติราษฎร์ (1)

 

70 ปี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484 อ่านกฎหมายเก่านั่งคุยกับคณะนิติราษฎร์ (1)

ตอนที่ ในอ้อมอกคณะราษฎร

 

"ลักษณะสำคัญของ Enlightenment คือ การเกิดความเคลื่อนไหวทางความคิดในทุกแขนงวิชา โดยการเคลื่อนไหวทางความคิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการตั้งคำถาม การวิพากษ์วิจารณ์ การสงสัยต่อสิ่งที่ยอมรับเด็ดขาดเป็นยุติ ห้ามโต้แย้ง ห้ามคิดต่าง เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือคำสอนทางศาสนา ทั้งนี้โดยที่ถือว่า "เหตุผลมีคุณค่าเท่าเทียมกับ "ความดี"

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ [1]

 

"ถ้าเห็นว่าเจ้าคณะไม่เป็นธรรมก็ให้ไปอยู่เสียที่อื่นจากจังหวัดนครนายกและมณฑลปราจีนบุรี"

แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 22 (2477), 
เรื่องคำวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของคณะสงฆ์และราษฎรจังหวัดนครนายก, น.14

 

"ถ้ามีใครสักคนโกรธใครมาก็ไม่รู้ไม่ได้ดั่งใจเรื่องอะไรมาก็ไม่รู้ แล้วก็พาลมาลงที่พ่อ เกลียดพ่อ ด่าพ่อคิดจะไล่พ่อออกจากบ้าน ผมจะเดินไปบอกไปบอกกับคนๆ นั้นว่า ถ้าเกลียดพ่อไม่รักพ่อแล้ว จงออกไปจากที่นี่ซะ เพราะที่นี่คือบ้านของพ่อ ..."

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง 
กล่าวใน พิธีมอบรางวัล "นาฏราช" ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 16 พฤษภาคม 2553

 

000

เนื่องในโอกาสที่ ครบรอบ 1 ปี คณะนิติราษฎร์และ 5 ปี รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมายเพียงหยิบมือ ได้กระทำในสิ่งที่ไม่มีผู้ใดทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย นั่นคือ ใช้อำนาจของปัญญาเหตุผลนำเสนอการล้มล้างรัฐประหาร ด้วยข้อเสนอให้ผลจากการรัฐประหาร 2549 เสียเปล่า นอกจากเป็นคำประกาศที่อหังการ และยืนหยัดอยู่กับอำนาจอธิปไตยของราษฎรที่ถูกปล้นชิงเรื่อยมาแล้ว การจุดไฟกลางสายลมนี้ ยังถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยว่าทั้งเสียดแทงใจดำ ทั้งถูกอกถูกใจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการรัฐประหารครั้งล่าสุด ความสำคัญของข้อเสนอหาได้อยู่ที่ความสมบูรณ์พร้อม และเป็นตัวแบบสำเร็จรูปที่จะทำให้เราหยุดยั้งรัฐประหารได้ชั่วกัลปาวสานไม่ แต่อยู่ที่พลังของมันได้เคลื่อนออกมาสู่ปริมณฑลสาธารณะแล้ว ทั้งยังลากให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้สนใจได้ลงสนามมาเป็นผู้เล่นกันอย่างอึกทึก ผู้เขียนมีความเห็นว่า สิ่งหนึ่งที่จะทำได้นอกจากการประกาศตัวสนับสนุนคณะนิติราษฎร์ในหน้า Facebook แล้ว การเขียนบทความขึ้นมาสนองสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอ ก็คงจะช่วยกันต่อยอดแตกแขนงแนวคิด "โรลล์แบ็ค" ไปสู่สังคมที่ประชาธิปไตย ที่มีหลักการและโต้แย้งกันด้วยเหตุผล ไปสู่สังคมที่บรรลุนิติภาวะ ไปสู่การก้าวพ้นจากสังคมลูกแหง่ที่จำนนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระ พ่อ แม่ และผู้ใหญ่โดยไร้ซึ่งคำถาม

ในฐานะที่ผู้เขียนสนใจเรื่องพระๆ เจ้าๆ ตลอดจนเรื่องเก่าเรื่องแก่เป็นทุนเดิม จึงขอร่วมขบวนความเคลื่อนไหวทางความคิดในแขนงนี้เพื่อนำไปสู่การวิพากษ์ สงสัยต่อสิ่งที่เรียกว่า ความไม่เป็นประชาธิปไตยในคณะสงฆ์ไทย โดยอาศัยความเข้าใจในบริบททางประวัติศาสตร์ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ว่ากันว่ากฎหมายฉบับนี้ มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเท่าที่ประเทศนี้เคยบัญญัติกฎหมายมา และอาจกล่าวว่า เราไม่อาจเข้าใจคณะสงฆ์ไทยได้เลยหากเราละเลยประวัติศาสตร์การต่อสู้ในสังคมสงฆ์ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนั้น ในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีอายุครบรอบ 70 ปี ได้แต่หวังใจว่า การเสื่อมมนต์ขลังของมายาคติ 14 ตุลา 16 อาจทำให้เรื่องอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในวันเดียวมีความสำคัญขึ้นมา และเป็นโภชน์ผลให้แก่ประชาชน เจ้าของอธิปไตยของประเทศได้พอๆกัน หรือมากกว่า 14 ตุลา 16 อนึ่ง บทความนี้มีความซับซ้อนและยืดยาวจนผู้เขียนไร้ความสามารถที่จะตัดใจให้จบในรูปบทความสั้นๆบทความเดียว จึงขอแบ่งเป็น 2 ส่วน บทนี้คือส่วนแรกที่จะฉายให้เห็นกระบวนการก่อกำเนิด และส่วนที่สอง จะว่าด้วยมรณกรรมของพระราชบัญญัตินี้

 

แบบจำลองสังคมการเมืองไทย ใน กฎหมายคณะสงฆ์

การเมืองในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2484 นั้นเป็นแบบจำลองที่สะท้อนสังคมไทยได้เป็นอย่างดี พ.ร.บ.ฉบับนี้ อาจนับว่าอยู่ในฐานะเดียวกันกับรัฐธรรมนูญที่ว่ากันว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง นั่นคือ ฉบับปี 2475 และปี 2489 กฎหมายเหล่านี้แม้จะเป็นนวัตกรรมของระบอบประชาธิปไตยที่สถาปนาขึ้นโดยมีความหวังว่าจะอยู่คู่กับสังคมไทยไปจนชั่วนิรันดร์ แต่ก็ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานทางอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการ อำนาจนิยม อนุรักษ์นิยม ที่ไม่ละอายในการละเมิดกติกาครั้งแล้วครั้งเล่า จนต่อต้านไม่ไหวและพังทลายพ่ายแพ้ในเวลาต่อมา

ก่อนจะเข้าฉากสำคัญ เราต้องเข้าใจถึงการสถาปนาความสัมพันธ์ของรัฐกับคณะสงฆ์ในการสถาปนารัฐสยามรัฐชาติสมัยใหม่เสียก่อน

 

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ.121 : Made in Absolute Monarchy

หัวใจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในฐานะที่เป็นรากฐานของรัฐชาติสมัยใหม่ของสยามนั้นคือ การรวมศูนย์อำนาจการปกครองและการดูดกลืนทรัพยากรเข้าส่วนกลางโดยมี กษัตริย์ ณ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ ระบอบนี้ได้สร้างความสัมพันธ์ชุดใหม่ระหว่างองค์รัฏฐาธิปัตย์ กับอำนาจดั้งเดิมที่อยู่ชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราชโดยกลไกต่างๆ ทั้งระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ทั้งการปรับระบบควบคุมกำลังคน การปฏิรูประบบภาษีใหม่ ให้มาขึ้นอยู่กษัตริย์โดยตรง แทนที่จะผ่านตัวแทน ก๊กกลุ่มขุนนางต่างๆ ทั้งในระดับราชสำนักและหัวเมือง

กลไกสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ สร้างความชอบธรรมผ่านอำนาจการจัดการเรื่องความรู้ การจัดการศึกษาในด้านหนึ่งก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ราษฎรในการอ่านเขียน และไต่เต้าในด้านอาชีพการงาน แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการกล่อมเกลาสร้างความภักดีแก่รัฐสยามใหม่ที่กำลังเติบโต เครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลสยามตรองเป็นอย่างดีแล้วนั่นก็คือ สถาบันสงฆ์ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐเข้าไปมีบทบาทในการจัดการวัด และใช้วัดเป็นฐานสร้างความชอบธรรมมาอย่างยาวนาน แต่ในระบอบใหม่นี้ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในการจัดการ มีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการวางสายบังคับบัญชาที่แน่นอน ตามหลักการปกครองราชการแบบอย่างเจ้าอาณานิคมที่รัชกาลที่ 5 ได้แบบอย่างมาจากประเทศใต้อาณานิคมอังกฤษ

ดังนั้นการเถลิงอำนาจอาณาจักรเหนือพุทธจักรอย่างชัดเจนและจริงจัง จึงเริ่มขึ้นอย่างแนบเนียนด้วยการส่งให้พระราชาคณะไป "จัดการศึกษา" ตามวัดในหัวเมือง โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่ปี ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) คู่ไปกับการจัดการศึกษาของฝ่ายฆราวาสโดย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ[2]

ในฝ่ายอาณาจักรได้มีการตรากฎหมาย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ส่วนฝ่ายพุทธจักรก็มี พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)[3] สาระสำคัญในพ.ร.บ.ตัวหลังก็คือ การเข้าไปจัดการควบคุมอำนาจในเชิงพื้นที่ และการแต่งตั้งบุคลากรที่ไว้ใจได้ด้วยระเบียบสมัยใหม่ที่มีสายบังคับบัญชาที่ชัดเจน เพื่อง่ายต่อการปกครองจากส่วนกลาง โดยเฉพาะการสถาปนาอำนาจผ่านกฎหมายที่ในตัวบทกำหนดให้รัฐบาลส่วนกลางสามารถให้คุณให้โทษกับสงฆ์ในท้องถิ่น และยังเปลี่ยนพระสงฆ์ให้มีสถานะกึ่งข้าราชการไปเสียด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความเห็นว่า กฎหมายนี้เป็นการทำลายความสัมพันธ์ 3 เส้าคือ รัฐ-วัด-ชุมชน ด้วยการตัดส่วนที่เรียกว่า ชุมชน

การออกแบบโครงสร้างเชิงอำนาจนี้ อีกสาเหตุหนึ่งก็เพื่อใช้แก้ไขปัญหาภายในวงการสงฆ์เอง ซึ่งไม่แข็งแรงพอที่จะควบคุมพฤติกรรมที่เสื่อมเสียของพระ เพราะว่าในสายตาของชนชั้นนำแล้ว การเกิดคดีที่ฉาวโฉ่ของพระอย่างไม่ได้หยุดหย่อน ถือได้ว่ามันเป็นความอ่อนแอที่สั่นคลอนความมั่นคงของฝ่ายอาณาจักรอีกด้วย

ภาพซ้าย แสดงให้เห็นกลุ่มที่เข้าร่วมการประชุมมณฑลเทศาภิบาล นำโดย สมเด็จฯ กรมดำรงราชานุภาพ ระบบเทศาภิบาล มีฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างรัฐชาติในส่วนภูมิภาค ที่มา: udclick.com

ภาพขวา ซุ้มรับเสด็จร.5 หลังจากนิวัตพระนคร แสดงความยิ่งใหญ่มั่งคั่งที่มีเบื้องหลังจากการดูดกลืนทรัพยากรจากหัวเมืองต่างๆ

 

เป็นพระ-เป็นเจ้า
โครงสร้างการปกครองอันไม่เป็นธรรม

ในวงการพุทธศาสนานั้น ได้มีความขัดแย้งภายในดำรงอยู่เรื่อยมา แต่คู่ขัดแย้งที่เด่นชัดที่สุดหลังจากสถาปนารัฐสมัยใหม่นั่นคือ ขั้วของสงฆ์สองนิกายคือ มหานิกายที่อยู่มาแต่เดิม กับ ธรรมยุติกนิกาย ในมุมของฝ่ายหลังนั้นมีพลังและแรงผลักดันอันมุ่งมั่นในการจะสถาปนาพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ น่าเลื่อมใส สมสมัย มีความเป็นเหตุเป็นผลและเป็นวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยผู้นำคือ วชิรญาณภิกขุ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) ในอีกด้านคณะสงฆ์ใหม่นี้ก็เป็นฐานอำนาจทางการเมืองใหม่ระหว่างที่อยู่นอกราชบัลลังก์ด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพระธรรมยุตนั้นมากับเส้น ที่มีรัชกาลที่ 4เป็นองค์อุปถัมภ์ใหญ่

ความบาดหมางดังกล่าวถูกบ่มเพาะขึ้นด้วยดูถูกจากฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยเฉพาะหลังจากที่รัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้มีการชี้ผิดในพระมหานิกายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ในการอุปสมบทไม่ถูก บวชในสีมาไม่ถูก ครองผ้าไม่ถูก มีวงศ์ที่เสื่อมมาตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่สอง และมีประพฤติทราม[5] ความอึดอัดและมีท่าที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันได้รับการบ่มเพาะมาตั้งแต่ครั้งนั้น ความบาดหมางได้รับการบอกเล่าและสืบทอดมาอย่างเป็นระบบ ในที่นี้ขอประกาศให้เห็นอคติว่า ผู้เขียนใช้หลักฐานส่วนใหญ่อ้างอิงจากงานเขียนของพระหรืออดีตพระในค่ายมหานิกาย จึงมิอาจปฏิเสธภาพลบต่อธรรมยุตที่เกิดจากการอ้างอิงงานเหล่านี้ด้วย

พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 ถูกตราขึ้นเป็นกลไกของรัฐสยามในการจัดการอำนาจการปกครองสงฆ์อย่างชัดเจน พุทธจักรขึ้นอยู่กับอาณาจักรและกษัตริย์ บนยอดปิรามิดของอำนาจในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้นก็ถูกวางตัวไว้แล้วว่าต้องเป็นพระที่วางใจได้ซึ่งจะเป็นใครไม่ได้นอกจากพระสงฆ์ชั้นสูงจากธรรมยุกตินิกาย ทำให้คณะสงฆ์สยามอยู่ภายใต้การปกครองของฝ่ายธรรมยุตมาอย่างยาวนานถึง 38 ปี นั่นคือ วาระของสมเด็จพระสังฆราชนับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ปี 2442-2464) และสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ปี 2464-2480) ข้อสังเกตก็คือ ทั้งสองมีสถานะที่เป็นทั้ง "พระ" และ "เจ้า"

ตั้งแต่สถาปนาธรรมยุกตินิกายขึ้น พระสังฆราชผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองสงฆ์ ก็ตกอยู่กับฝ่ายธรรมยุติกนิกายเสมอมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2442-2480

องค์ซ้าย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2443-2464)
องค์ขวา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (2465-2480)

คณะสงฆ์หลังการปฏิวัติสยาม 2475

การปฏิวัติสยาม 2475 ได้รับการพิสูจน์ทางประวัติศาสตร์แล้วว่า ไม่ได้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงแบบชิงสุกก่อนห่ามของคนเพียงหยิบมือ แต่มีเชื้อพันธุ์ของการปฏิวัติที่ถูกบ่มเพาะมาแล้ว และไม่ใช่เพียงคนหยิบมือ แต่ยังกระจายตัวมากไปกว่าในเขตดุสิต หรือในพระนคร พบรายงานว่า พระสงฆ์ สามเณร มีความสนใจและตื่นเต้นที่จะมีรัฐธรรมนูญสำหรับการปกครองพระสงฆ์บ้าง และพระเหล่านั้นต่างเรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคให้ที่จะให้พระสังฆราชอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับกษัตริย์ โดยเรียกร้องผ่านการอภิปรายในวัด บางแห่งก็รายงานว่า มีความตื่นตัวของพระสงฆ์ โดยพบว่าพระสงฆ์จำนวนหนึ่งเขียนจดหมายถึงรัฐบาลแสดงความยินดี และชื่นชมรูปแบบการปกครองแบบใหม่ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงคณะสงฆ์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย[6] เหล่าพระผู้ใหญ่ก็ล้วนตระหนักดีถึงความขัดแย้งในวัดระหว่างพระลูกวัดและเจ้าอาวาส ถึงกับมีการประกาศเตือนมายังเจ้าอาวาส ในแถลงการณ์คณะสงฆ์ ปี 2475[7]

 

ความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตยหลังกบฏบวรเดช 2476

ความขัดแย้งของกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับคณะราษฎรถึงคราวไม่อาจประนีประนอมและแตกหักกัน จากเหตุการณ์ การประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และปิดสภาโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งถูกตอบโต้ด้วยการการยึดอำนาจคืนเพื่อรักษาระบอบรัฐธรรมนูญของคณะราษฎรที่นำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา และไปจบลงที่การนองเลือดและการปราบกบฏบวรเดชอันเป็นตัวแทนของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในปี 2476 ห้วงเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้ชัยชนะในยกแรกของคณะราษฎรที่สามารถรักษาจิตวิญญาณของระบอบรัฐธรรมนูญที่สร้างขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จ หลังการปราบกบฏบวรเดชและการชำระความยุ่งยากของฝ่ายปฏิปักษ์แล้ว[8] ได้สร้างความมั่นใจต่อมหาชนถึงสถานะที่มั่นคงยั่งยืนของระบอบใหม่นี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อความมั่นใจดังกล่าวได้ส่งผลต่อกลุ่มก้อนทางการเมืองที่จะเรียกร้องให้สังคมของตนมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ในที่นี้คือ กลุ่มพระสงฆ์


ภาพประชาชนร่วมยินดีกับคณะราษฎรที่ปราบกบฏบวรเดชปี 2476
(ที่มาภาพ: จาก Facebook ของคุณ Heaven Love)

 

คณะสงฆ์และการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม

ความมั่นใจในระบอบใหม่ที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น อาจส่งพลังให้แก่พระภิกษุหนุ่มที่ต้องการจุดประกายความเปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งและความอึดอัดจากการถูกกดขี่ การต่อสู้และความขัดแย้งภายในวัดที่ระเบิดออกมาเป็นระยะซึ่งเราพบหลักฐานอยู่ 3 กรณี นั่นคือ กรณีวัดปทุมคงคา ปี 2475 กรณีวัดปทุมวนาราม ปี 2476 และกรณีวัดดวงแข ปี 2477 ทั้งหมดถือได้ว่าเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในดงขมิ้นของพระสงฆ์รุ่นใหม่ และไม่ได้เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างนิกายเพียงอย่างเดียว[9] แต่เป็นการเรียกร้องในฐานะของอุดมการณ์ของยุคสมัย

ที่วัดปทุมคงคา วาบประกายไฟของการเปลี่ยนแปลง เกิดจากการที่พระลูกวัดคิดล้มเลิกระเบียบการสอบคัดเลือกนักเรียนธรรมและบาลีสนามหลวง แต่เจ้าอาวาสไม่ยินยอม จนเกิดเหตุวุ่นวายอันมาจากการที่พระลูกวัดขว้างปากุฏิ แน่นอนว่า อาการลามปามไม่เคารพที่ต่ำที่สูงเยี่ยงนี้ส่งผลให้มหาเถรสมาคม ผู้ทรงอำนาจสูงสุดสั่งขับไล่เหล่าพระดังกล่าวออกจากความเป็นพระศาสนา (บัพพาชนียกรรม) แต่เหตุการณ์ก็ยังได้ลามต่อเนื่องมายังวัดปทุมวนาราม ซึ่งก็เกิดเหตุการณ์ที่พระลูกวัดต่อต้านเจ้าอาวาสเช่นกัน มหาเถรสมาคมส่งพระผู้ใหญ่ไประงับเหตุ สั่งการให้สึกลูกวัดและให้พระรูปดังกล่าวที่เข้ามาแก้ไขปัญหาครองวัดเป็นเจ้าอาวาส ขณะที่วัดดวงแข พระรูปหนึ่งเดิมอยู่วัดปทุมวนารามที่เคยต้องคดีมาแล้ว ก็ได้ก่อเหตุขึ้นอีก ครานี้พระดังกล่าวดื้อแพ่งไม่ยอมสึก คณะธรรมยุตอันเป็นต้นสังกัดของวัดดวงแข เห็นว่าวัดนี้ไม่อาจปกครองได้ และน่าจะด้วยอคติเป็นทุนเดิม เมื่อพบว่าวัดนี้ภิกษุส่วนใหญ่เป็นชาวอีสานจึงทำการยุบวัดเสีย (อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาชาวบ้านก็ได้ทำการฟื้นวัดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง) เหตุผลการลงโทษ เราอาจสรุปได้จากพระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่

"...ไม่เคารพนับถือประมุขสงฆ์...เป็นทางที่จะให้คณะสงฆ์แตกกันเป็นคณะ ซึ่งเป็นอาการแห่งสังฆเภทอนันตริยกรรม มีโทษอย่างหนัก" [10]

 

การลงโทษอย่างหนักนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการใช้อำนาจแบบเผด็จการของคณะสงฆ์ ขณะที่ในทางโลกได้เปลี่ยนมาสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว หนักข้อไปกว่านั้นก็คือ การแสดงความเห็นของพระสังฆราชที่ตอกย้ำลักษณะอำนาจนิยมของสังคมสงฆ์ ผ่านตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด นั่นก็คือ การชี้ให้เห็นว่าในรั้ววัดแล้ว เจ้าอาวาสเป็นขาใหญ่ที่มีอำนาจมากที่สุด สามารถลงโทษพระลูกวัดหนักเท่าไหร่ก็ได้ แม้พระลูกวัดไม่มีความผิด ก็สามารถไล่ออกจากวัดไปได้ เรามาดูตัวบทที่กล่าวถึงกัน

"...เจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแลวัด ลูกวัดมีผิดเล็กน้อยถูกลงโทษหนักเกินไปก็ไม่เห็นเป็นไร ทนไม่ไหวไปอยู่เสียที่อื่น หรือลูกวัดไม่มีผิดเลย แต่เจ้าอาวาสไม่ต้องการให้อยู่ ก็บังคับไม่ให้อยู่เสียได้ ไม่เห็นเจ้าอาวาสผิดอย่างไร ไม่ใช่ลูกวัดไม่มีผิดแล้วเจ้าอาวาสไม่ให้อยู่ในวัดตนไม่ได้..." [11]

 

จาก "คณะปฏิวัติ" สู่ "คณะปฏิสังขรณ์ฯ"อหังการแด่ความเสมอภาค

ก่อนปฏิวัติสยาม 2475 ปรีดี พนมยงค์ และพรรคพวกที่เป็นทั้งพลเรือนและทหารได้เช่าห้องเพื่อใช้ในการประชุมเพื่อเตรียมปฏิวัติ ณ ถนน Rue du Sommarard ในเขต Quartier Latin กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [12] ในปี2477 ก็พบว่า มีพระสงฆ์หนุ่มสังกัดมหานิกาย จากวัดมหาธาตุ, วัดเชตุพนฯ, วัดเบญจมบพิตร, วัดสุทัศน์ฯ และวัดอรุณ ได้นัดพบกันที่บ้านคหบดี ในเขต อ.บางรัก บ้านหลังนั้นชื่อว่า "ภัทรวิธม" เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2477 ว่ากันว่า จำนวนพระหนุ่มที่เดินทางมีจำนวนกว่า 300 ได้เรียกชื่อคณะผู้ก่อการคราวนี้ไว้ว่า "คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา"

การหารือครั้งนั้นได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ถึงข้อเสนอต่อรัฐเพื่อการเปลี่ยนโครงสร้างของคณะสงฆ์ให้มีความเท่าเทียมกัน มีการประกาศแถลงการณ์และเป็นที่รับรู้ในที่สาธารณะผ่านหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2477 ว่า "...เป็นไปเพื่อความเสมอภาคในการปกครองคณะสงฆ์ และเพื่อการรวมนิกายสงฆ์ให้มีสังวาสเสมอกัน คือให้มีการอุโบสถสังฆกรรมร่วมกัน..." หลังจากนั้นได้มีหนังสือไปเสนอแด่พระผู้ใหญ่และรัฐบาลในภายหลัง [13]

ตัวละครใน คณะปฏิสังขรณ์ฯนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นทั้งพระหนุ่ม ยุวสงฆ์รุ่นแรกที่มีคุณวุฒิแล้ว เช่น พระมหาสนิท (พระธรรมวโรดม-ขณะนั้น) เปรียญ 6 ประโยค พรรษา 23พระมหาสมบูรณ์ (พระธรรมวรนายก) เปรียญ 6 ประโยค พรรษา 26, พระมหาแย้ม (แย้ม ประพัฒน์ทอง) เปรียญ 8 ประโยค พรรษา 26, พระมหาประหยัด (ประหยัด ไพทีกุล) เปรียญ 3 ประโยค พรรษา 22 ซึ่งรวมไปถึงสมเด็จพระสังฆราชปุ่น ปุณณสิริมหาเถระ ในครั้งที่ยังเป็นพระมหาปุ่น เปรียญ 6 ประโยคด้วย อย่างไรก็ดีพบว่าในผู้เข้าร่วมหลักร้อย ยังมีภิกษุหนุ่มและเณรน้อยเข้าร่วมด้วย [14] เราต้องไม่ลืมว่า กบฏบวรเดชนั้นจบลงไปตั้งแต่เดือนตุลาคม 2476 นั่นหมายถึง สังคมในยุคนั้นได้เห็นแล้วว่าอำนาจรัฐในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นธงนำความเสมอภาค ได้รับการปกป้องอย่างจริงจัง การเกิดขึ้นของคณะปฏิสังขรณ์ฯ จึงมี timing ที่สอดคล้องกับบรรยากาศของบ้านเมืองที่สนับสนุนระบอบใหม่นี้อย่างแข็งขันไปด้วย

ว่ากันว่าสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 (2515-2517) 
สมัยยังเป็นพระมหาปุ่น เปรียญ 6 ประโยค 
ก็เคยเป็นสมาชิกคณะปฏิสังขรณ์มาก่อน

แผนการก่อการและนวัตกรรม

เมื่ออ่านกระบวนการก่อกำเนิดคณะปฏิสังขรณ์ฯแล้ว เราจะเห็นว่าช่างเป็นเรื่องเล่าที่เต็มไปด้วยสีสันและอารมณ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะโครงเรื่องที่ดูคู่ขนานไปกับการดำรงอยู่ของคณะราษฎรดังที่เทียบเคียงไปบ้างแล้วในฉากที่ปารีส กับบ้าน "ภัทรวิธม" การรวมตัวกันของคณะสงฆ์ เอาเข้าจริงแล้วก่อนจะเกิดภาพเหล่านั้นได้ ก็ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน ในแผนขั้นที่หนึ่งระบุถึงการหาพรรคพวกที่เห็นตรงกัน เริ่มต้นจากการวางแผนให้ภิกษุ 9 รูปมาในงานทำบุญที่บ้าน "สุขมาสถาน" เมื่อพิธีกรรมเสร็จก็มีการปรึกษาปัญหาการปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเห็นพ้องว่าควรจะแก้ไขพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ แผนขั้นต่อมาก็ขยายเครือข่าย โดยกำหนดให้แต่ละรูปต้องหาลูกข่ายให้ได้ 10 รูป[15] นี่คือบันทึกหน้าแรก ก่อนที่จะเกิดการพบปะกันที่ บ้านภัทรวิธมที่มีจำนวนพระและสามเณรรวมกว่า 300 และการสื่อสารระหว่างกันที่เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์มากนั่นก็คือ ระหว่างพระภิกษุที่ใช้โอกาสบิณฑบาตตอนเช้า ได้มีเขียนข้อความใส่ในบาตรส่งข่าวกัน ซึ่งพระธรรมวรนายกเรียกวิธีการนี้ว่า "ไปรษณีย์บาตร"[16]

 

ทำไมต้อง "คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา"

ก่อนจะลงตัวในชื่อนี้ เคยมีการเสนอชื่อ "คณะปฏิวัติคณะสงฆ์" "คณะปฏิวัติการพระศาสนา" "คณะปฏิรูปการศาสนา" แต่คำว่า "คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา" ได้มาจาก พระมหาประหยัด ซึ่งได้แนวคิดมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Restoration" ซึ่งแปลว่า "ปฏิสังขรณ์" คือ ทำสิ่งที่ทรุดโทรมให้กลับคืนดีดังเดิม ว่ากันว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบว่าคำนี้ เนื่องจากเป็นคำกลางๆ เหมาะกับสมณเพศ[17]

 

เหตุและผล แรงจูงใจของคณะปฏิสังขรณ์ฯกับสังคมประชาธิปไตย

หากวัดกันตามจำนวนแล้ว พระสงฆ์ในมหานิกายในปี 2478 นั้น มากมายนับเท่าทวีเมื่อเทียบกับ ธรรมยุติกนิกาย เฉพาะวัดของมหานิกายก็มีถึง 17,305 วัด ขณะที่วัดธรรมยุตมีเพียง 260 วัด[18] การเปลี่ยนแปลงระดับพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน นอกจากทำให้เจ้าทั้งหลายเปลี่ยนสถานภาพมาสู่ความเท่าเทียมกับคนธรรมดาในเชิงทฤษฎีแล้ว ในหมู่สงฆ์มหานิกายเองก็คงใฝ่ฝันถึงวันที่พวกตนจะเท่าเทียมกัน และขึ้นเป็นใหญ่ได้เช่นกัน

หลังปฏิวัติสยามจนถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชในปี 2476 พระสงฆ์ธรรมยุตกลับไม่น่าเป็นที่ไว้วางใจ มีการตั้งข้อสังเกตว่า พระเหล่านี้อาจจะส่งเงินสนับสนุนกลุ่มกบฏบวรเดช อันเนื่องจากความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) กับ นายพลตรีพระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว.อี๋ นพวงศ์) หนึ่งในกองกำลังของเหล่ากบฏบวรเดช[19]

หลังเหตุกบฏบวรเดช รัฐบาลข่มฝ่ายกษัตริย์และเจ้านายให้อยู่ในสถานะที่ตกต่ำเป็นอย่างยิ่ง และแน่นอนว่า มันส่งผลต่ออภิสิทธิ์ของพระธรรมยุตฯ ที่อิงอยู่กับชนชั้นอันสูงศักดิ์ไปด้วย ดังนั้นการที่พระมหานิกายท้าทายกลับคืนไปยังพระธรรมยุตด้วยการเสนอกฎหมายใหม่ จึงมีนัยการต่อสู้ทางชนชั้นเช่นนี้อยู่ด้วย ขณะเดียวกันในระบอบใหม่นี้ ความเป็นประชาธิปไตยได้สร้างความตื่นตัวของคณะสงฆ์ขึ้นอย่างน่าสังเกต

การดำรงอยู่ของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 ในสายตาของพระสงฆ์บางกลุ่มแล้วเห็นว่ามันขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสำคัญที่สุดของบ้านเมืองเป็นอย่างมาก ด้วยความประทับใจของพระสงฆ์กับระบอบใหม่นี้เราจะเห็นได้ว่า พระสงฆ์เริ่มสร้างคำอธิบายให้เห็นว่า พุทธศาสนานั้นมีความสัมพันธ์กับระบอบที่เกิดขึ้นใหม่ว่า มีความเป็นประชาธิปไตยและเป็นสังคมที่เสมอภาค[20] ปรากฏการณ์ที่กลายเป็นชนวนใหญ่โตหลังจากปัจจัยต่างๆสุกงอมมาแล้ว นั่นก็คือ กรณีของพระญาณนายก ซึ่งถือกันว่า เป็นคดีที่ใหญ่โตที่แสดงให้เห็นการที่พระมหานิกายถูกกระทำจากพระผู้ใหญ่ที่เป็นพระธรรมยุตอย่างไม่เป็นธรรมยิ่ง

 

คดีพระญาณนายก

พระญาณนายก (ปลื้ม) เจ้าอาวาสวัดอุดมธานี อ.วังกระโจม จ.นครนายก เจ้าคณะจังหวัด เกิดความขัดแย้งกับพระผู้ใหญ่จนถูกถอดสมณศักดิ์อย่างไม่เป็นธรรมในปี 2477 [21] โดยผู้พิพากษาความผิดก็คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ผู้บัญชาการคณะสงฆ์ ปฏิบัติแทนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์สูงสุดในมหาเถรสมาคม เหตุการณ์สรุปโดยย่อได้ดังนี้

1.พระราชกวี วัดเทพศิรินทร์ (ธรรมยุติ) เจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรี (ในที่นี้ให้ธรรมยุติปกครองมหานิกาย) แต่งตั้งเจ้าคณะแขวง และอุปัชฌาย์โดยมิได้ปรึกษาพระญาณนายกที่เป็นเจ้าคณะจังหวัด จึงถือว่าเป็นการก้าวก่ายอำนาจกัน ข้ามขั้นตอน ทั้งยังเล่นพรรคเล่นพวก และผิดหลักเกณฑ์ แต่พระราชกวีก็ถกเถียงว่าไม่ผิด เนื่องจะพระรูปที่สนับสนุนเป็นพระวิสามัญมีคุณวุฒิพิเศษ และมีตัวอย่างแต่งตั้งเช่นนี้มาแล้วด้วย[22]

2.พระญาณนายกไม่ยอม ได้ทำเรื่องฟ้องไปยังสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (ขณะที่ยังทรงงานได้อยู่) ความขัดแย้งดังกล่าวนำไปสู่การที่พระราชกวีปลดพระญาณนายก โดยให้ขึ้นหิ้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ และแต่งตั้งพระมุนีนายกเป็นเจ้าคณะจังหวัดแทน[23]

3.พระญาณนายกยังถูกรุมจากการที่เจ้าอธิการจอน เจ้าคณะหมวดตำบลบ้านเล่า วัดท่าทราย อ.วังกระโจม นครนายก ได้ทำบัตรสนเท่ห์ใส่ความพระญาณนายกว่า เสพเมถุนและยักยอกเงินไว้ให้กับหญิง แต่บัตรสนเท่ห์ถูกจับได้

จึงนำเรื่องฟ้องศาล และพบว่าผิดจริง ให้จำคุกและปรับเงิน แต่ให้รอลงอาญาไว้ก่อน[24]

4.ในขณะเดียวกัน กรณีขึ้นโรงขึ้นศาลนี้ ทำให้พระราชกวี ส่งเรื่องไปฟ้องสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ในฐานะผู้บัญชาการคณะสงฆ์ ขณะนั้นที่ยังไม่มีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช พระญาณนายก ถูกตัดสินว่า การกระทำดังกล่าว เป็นการละเมิดสังฆาราชาณัติ เป็นกรณี "เป็นภิกษุฟ้องภิกษุในศาล" ซึ่งมีความผิด โดยเฉพาะในฐานเจ้าคณะจังหวัดที่ควรจะรู้ระเบียบดีจึงถือว่าจงใจฝ่าฝืนและดูหมิ่นพระสังฆราชาณัติ ความผิดสมควรให้สึกแต่ถือว่ามีความดีความชอบ จึงเห็นเพียงถอดสมณศักดิ์ เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2477 ขณะที่เจ้าอธิการจอนให้ถอดจากเจ้าคณะหมวดลงเป็นพระอนุจร[25] การให้สึกนั้น นับเป็นโทษรุนแรงมากในระดับเดียวกันกับประหารชีวิตในกฎหมายฝ่ายอาณาจักรเลยทีเดียว

คำพิพากษากรณีนี้ ถูกมองว่าเป็นการตัดสินที่เล่นพรรคเล่นพวก และเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต เหล่าคณะศิษยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือเกิดไม่พอใจระบบการปกครองคณะสงฆ์ที่ "ไม่เสมอภาค" โดยกล่าวหาว่า ระบบดังกล่าวให้อภิสิทธิ์แก่ธรรมยุติปกครองมหานิกายได้ ในขณะที่มหานิกายไม่มีสิทธินั้น จึงยื่นหนังสือประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมจากพระสงฆ์จำนวน 536 รูป 43 วัด ยื่นเรื่องเสนอรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ กล่าวโทษพระราชกวี และพระมุนีนายก เจ้าคณะจังหวัดนครนายกรูปใหม่ ในข้อหาที่ว่าไม่สามารถอำนวยความสงบเรียบร้อยในการปกครองให้เกิดขึ้นและไม่สามารถให้ "ความเสมอภาค" แก่ผู้อยู่ใต้การปกครอง การบริหารทำด้วยความพอใจของตนเป็นประมาณไม่คำนึงถึงความเสื่อมเสียอันจะเกิดแก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง จึงขอเปลี่ยนตัวทั้งคู่ให้ออกจากตำแหน่ง การเคลื่อนไหวนั้นมีนัยทางการเมืองนั่นก็คือ การปฏิเสธสิทธิพิเศษแก่คณะสงฆ์ธรรมยุตปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย[26]

แต่คำร้องทุกข์เหล่านั้นถูกปฏิเสธโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) และการที่คณะสงฆ์ของเปลี่ยนตัวเจ้าคณะจังหวัดและเจ้าคณะมณฑลนั้น มหาเถรสมาคมพิจารณาว่า ไม่มีเหตุผลสมควร ทั้งยังย้ำด้วยประโยคที่ฟังคุ้นหูพวกเราในปัจจุบันสมัยมากๆ ว่า

"ถ้าเห็นว่าเจ้าคณะไม่เป็นธรรมก็ให้ไปอยู่เสียที่อื่นจากจังหวัดนครนายกและมณฑลปราจีนบุรีและโปรดให้ยกฎีกาเสีย" [27]

 

ภาพซ้าย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส (ธรรมยุต) ผู้บัญชาการคณะสงฆ์ขณะนั้น ปฏิบัติการในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช

ภาพขวา เหรียญพระญาณนายก (ปลื้ม) วัดอุดมธานี จ.อุทัยธานี (มหานิกาย) ปี 2483

 

กระบวนการทางการเมืองสู่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484

"...จริงอยู่ถ้ามีผู้พูดว่า แต่ก่อนๆ ทำไมปกครองกันอยู่ได้ อาตมาภาพของเจริญพรว่า เพราะการปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนปกครองอย่างแอ็บโซลูดก็จำต้องทนอยู่ แม้จะพูดจะร้องก็ไม่มีใครจัดการได้ที่พูดที่ร้องขึ้นเวลานี้ ก็เพราะเห็นว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยอันแท้จริง แลถ้าพูดถึงวิธีการปกครองของพุทธจักรแล้วเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงทีเดียว แต่หากว่าผู้มีอำนาจได้คิดจัดรูปให้แปรปรวนไปเสีย เมื่อฝ่ายอาณาจักรกลับเปลี่ยนรูปเป็นประชาธิปไตย ฝ่ายศาสนจักรก็จำต้องหมุนตาม และจุดประสงค์อันสำคัญยิ่งของคณะผู้ก่อการปฏิสังขรณ์การพระศาสนามีเพียงเท่านี้..."

สำเนาเอกสารที่ 1/2478, จากพระปลัดเจ๊กถึงพระสารสาสน์ประพันธ์ รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ, 3 เมษายน 2478 อ้างใน ธาราวงศ์-รักศรีวงศ์, เรื่องเดิม, น.191

 

การดำเนินงานของคณะปฏิสังขรณ์ฯ หลังจากพบปะกันอย่างเป็นทางการครั้งแรกแล้ว ก็ได้วางขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นหลักการ ตั้งแต่การเดินเรื่องตามระเบียบและกฎเกณฑ์ การใช้พลังกลุ่มต่อรองทางการเมือง การใช้พลังสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียง และการผลักดันผ่านนักการเมืองที่มีความสำคัญและเข้าใจหลักการดังกล่าว ซึ่งมีผลออกมาอย่างน่าสนใจ ได้แก่

ขั้นแรก คณะปฏิสังขรณ์ฯ ทำการยื่นเรื่องราวต่อฝ่ายบริหารคณะสงฆ์ตามลำดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นการยื่นหนังสือต่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้บัญชาการคณะสงฆ์, รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ และพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี[28] การดำเนินการดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการกระทำที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ไม่ได้เป็นการลักลอบโจมตีไปที่พระรูปใดรูปหนึ่ง แต่เป็นข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมการเมืองที่ผลัดใบใหม่

ขั้นที่สอง คณะปฏิสังขรณ์ฯ ใช้พลังกลุ่มในการเคลื่อนไหวทั้ง คณะสงฆ์และฆราวาส หลังจากวิ่งเต้นขอเสียงสนับสนุนแล้ว พบว่าในช่วงแรกมีภิกษุในกรุงเทพฯและภูมิภาคสนับสนุนถึง 800 รูปจาก 100 วัด ต่อมาเพิ่มอีก 92 วัด 177 รูป ในที่สุดก็มีคณะสงฆ์ปักษ์ใต้มาสมทบอีก 12 จังหวัด 368 วัด ที่มีมวลชนพระรวม 2,080 รูป[29] ทำให้เห็นว่า ข้อเสนอของคณะสงฆ์ไม่ใช่จำนวนเพียงหยิบมือเดียว และตอกย้ำให้เห็นว่าคณะสงฆ์ตื่นตัวกับการจะมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยนี้มากเพียงใด

ขั้นที่สาม ใช้สื่อมวลชนสนับสนุน คณะปฏิสังขรณ์ฯ น่าจะเล็งเห็นการก้าวเดินไปข้างหน้าจะต้องเป็นหาแนวร่วมในวงกว้าง ขณะนั้นสื่อที่ขยายไปในวงกว้างและมีประสิทธิภาพที่สุดน่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ เราพบว่า มีสื่อที่สนับสนุนคณะปฏิสังขรณ์ ได้แก่ หลักเมือง, ประชาชาติ และไทยใหม่[30]

ขั้นที่สี่ ใช้พลังทางการเมืองสนับสนุน พระมหาประหยัด ก็ได้ขอคำปรึกษาทางแนวคิดจากถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมการหัวก้าวหน้าในสมัยนั้น ซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อเขา ถวัติ กับคณะปฏิสังขรณ์ฯส่วนหนึ่ง ได้เข้าพบปรีดีที่บ้านและปรีดีได้แนะนำขุนสมาหารหิตคดีให้ช่วยในการร่างพระราชบัญญัติ ขณะเดียวกันปรีดีก็รับรองความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองว่าจะไม่เข้าไปจับกุมขัดขวาง[31] นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้าท่า แต่ความสัมพันธ์อันดีกับปรีดี และถวัติ ฤทธิเดชนี้เองทำให้มีความเสี่ยงต่อการถูกปรักปรำว่าเป็นความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ที่ต้องการจะทำลายล้างพุทธศาสนา

ภาพซ้าย ถวัติ ฤทธิเดช (2437-2493) ผู้นำกรรมกรหัวก้าวหน้า ผู้เป็นที่ปรึกษาคณะปฏิสังขรณ์ฯ

ภาพขวา ปรีดี พนมยงค์ (2443-2526) ขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็สนับสนุนคณะปฏิสังขรณ์ฯด้วย

 

อุปสรรคบ่มี ประชาธิปไตยบ่เกิด

เฉกเดียวกับการดำเนินการปฏิวัติของคณะราษฎร นั่นคือ แรงต้านจากผู้กุมอำนาจอยู่เดิมอันเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม อย่าลืมว่า คณะปฏิสังขรณ์ฯ ไม่สามารถใช้กำลังอาวุธเพื่อยึดอำนาจในการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่พระแต่ละรูปก็ไม่มีอำนาจในการปกครอง ไม่มีอำนาจทางการเงินมากพอ หลังจากที่คณะปฏิสังขรณ์ฯ เปิดตัวในสื่อหนังสือพิมพ์และยื่นหนังสือไปยังผู้มีอำนาจทางการเมืองและคณะสงฆ์ แรงปฏิกิริยาดังกล่าวมีพลังในการบ่อนเซาะขบวนการของพระรุ่นใหม่เป็นอย่างมาก

อุปสรรคแรก คือ การลาออกของพระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) ขณะที่พระรุ่นใหม่ต่อสู้อย่างเปิดเผย แต่สิ่งที่ฝ่ายอำนาจเก่าถนัดก็คือ การใช้อำนาจในการล็อบบี้ พบว่า พระราชธรรมนิเทศ อธิบดีกรมธรรมการ ฆราวาสผู้ดำรงตำแหน่ง นายกพุทธสมาคมฯในขณะนั้น (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2476-2479) ได้โน้มน้าว พระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) ให้ลาออกจาก ประธานคณะปฏิสังขรณ์ฯ บ้างก็ว่า พระราชธรรมนิเทศ ส่งคนมาข่มขู่ ทำให้พระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) แถลงการณ์ปฏิเสธว่ามีส่วนในคณะปฏิสังขรณ์ ทำให้รองประธาน และคณะกรรมการอีกหลายคนลาออกตามไปด้วย[32] ถ้อยแถลงบางส่วนยังเป็นผลลบต่อคณะปฏิสังขรณ์ นั่นคือ

"...จึงเป็นการเหลือบ่ากว่าแรงที่อาตมาภาพจะยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการนอกหน้าที่ซึ่งไม่ใช่สันติวิธี ขัดกับพระพุทโธบายเนื่องด้วยการบริหารคณะสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง..." [33] (ขีดเส้นใต้โดยผู้เขียน)

 

สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นถึงการจัดองค์กรหลวมๆ ของคณะปฏิสังขรณ์ฯที่ขาดเอกภาพ แม้คณะสงฆ์จะมีไฟฝันที่ลุกโชนเพียงใด แต่ยังไม่สามารถรวมตัวกันอย่างได้แข็งขัน ในด้านหนึ่งก็เพราะว่า ในคณะปฏิสังขรณ์ฯ มีอยู่หลายกลุ่มที่ไม่เคยร่วมงานกันมาก่อน ยังไม่ต้องนับถึงว่าเคยร่วมทุกข์ร่วมสุข มีแต่เพียงความไม่พอใจการปกครองสงฆ์ร่วมกันที่เป็นธงนำร่วมกัน นอกจากนั้นการเลือกตำแหน่งประธานก็พิจารณาจากคุณวุฒิที่ระดับ "เปรียญ" การขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ไม่มีเวลาที่สั่งสมอุดมการณ์และความเข้าใจร่วมกัน[34] จึงไม่สามารถทัดทานการโจมตีเป็นรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวกันว่า คณะปฏิสังขรณ์ฯ ก็ยังเดินหน้าต่อไปแบบไม่มีหัว ไม่มีประธาน รองประธานอยู่หลายเดือน[35]

ข้อที่สอง การต่อต้านของมหาเถรสมาคมและกระทรวงธรรมการ นอกเหนือไปจากการขู่บังคับให้พระวิสุทธิสมโพธิ (เจีย) ลาออกแล้ว ยังมีเรื่องที่น่าละอายก็คือ การพิจารณาลงโทษภิกษุผู้เข้าชื่อ[36] ยิ่งหากเป็นวัดปกครองโดยภิกษุธรรมยุตแล้ว คณะปฏิสังขรณ์ฯ ยิ่งถูกกระทำดังเป็นจำเลยคดีอุกฉกรรจ์ เช่น นำตัวไปกักขังในโรงธรรมศาลา ห้ามเยี่ยม ทรมานให้อดฉันเพล และให้อดฉันน้ำ สอบสวนนอกประเด็น แม้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรส่วนภูมิภาคระดับอำเภอและจังหวัด ยังปฏิบัติต่อพระผู้เป็นจำเลยอย่างไม่มีสัมมาคารวะ ให้พระยืนบนพื้นดิน แล้วพวกตนไปยืนบนโต๊ะกล่าวกระทบกระเทียบ [37] พบว่าพระระดับแกนนำของคณะปฏิสังขรณ์ฯ หลายรูปยังถูกบีบคั้นในรูปแบบต่างๆ จนเจ้าอาวาสตัดสินใจส่งไปจำพรรษา ณ วัดต่างจังหวัด เช่น พระมหาสนิธ เขมจารี วัดพระเชตุพนฯ ให้ไปอยู่ราชบุรี พระมหาทองสุก สุทสฺโส วัดมหาธาตุไปสระบุรี พระมหาสมบูรณ์ จนฺทโก วัดมหาธาตุไปนครนายก[38]

เพื่อการจัดการขั้นเด็ดขาดมากขึ้น มหามกุฏราชวิทยาลัยออกประกาศลงโทษ สมาชิกคณะปฏิสังขรณ์ฯ นั่นคือ ตัดท่อน้ำเลี้ยงและหนทางสู่เกียรติยศ ด้วยการตัดเงินบำรุงครู และห้ามเจ้าคณะยกย่องให้พวกเขาเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะหมวด ห้ามขอเบี้ยอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์ ที่สำคัญก็คือ การตัดตอนทางความคิดไปสู่พระรุ่นใหม่ โดยการห้ามตั้งเขาเหล่านั้นเป็นครู ด้วยเกรงว่าจะเผยแพร่ความคิดดังกล่าว [39]

ข้อที่สาม กรณีพระธรรมปิฎก วัดเชตุพนฯ เจ้าคณะมณฑลราชบุรีลาออก ด้วยความที่ในคณะปฏิสังขรณ์มีพระจากราชบุรีจำนวนมาก พระธรรมปิฎกจึงถูกสงสัยว่าเป็นพวกคณะปฏิสังขรณ์ จึงได้เกิดการงัดข้อขึ้นกับฝ่ายมหาเถรสมาคม ในกรณีเสนอโยกพระธรรมยุต เจ้าแขวงกำแพงแสน เป็นกิตติมศักดิ์ เนื่องจากอยู่ต่างถิ่น ไม่สะดวกต่อการปกครอง แต่ประธานมหาเถรสมาคมไม่อนุมัติ โดยกล่าวหากลับไปว่า พระธรรมปิฎกต้องการถอดถอนเพื่อให้พวกปฏิสังขรณ์บรรจุแทน ซึ่งพระธรรมปิฎก็ทำหนังสือตอบโต้ว่าไม่เป็นความจริง และในเมื่อไม่เป็นที่ไว้วางใจ จึงขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล และยื่นเรื่องให้มหาเถรสมาคมพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่มหาเถรสมาคมก็ไม่ได้พิสูจน์ใดๆ และไม่มีการยับยั้งการลาออก ในจังหวะนั้นเอง ก็ได้โยกคนของตนเข้าเป็นเจ้าคณะมณฑลราชบุรีแทน[40]

 

บรรลุเป้า?

การต่อสู้อันดุเดือดดังกล่าว ได้ผลลัพธ์ที่งดงามไม่น้อย ความสำเร็จขั้นแรกของคณะปฏิสังขรณ์ฯ ก็คือ การผลักดันข้อเสนอจนเข้าไปเป็นญัตติในสภาได้ โดย หลวงวรนิติปรีชา ส.ส.จังหวัดสกลนคร แต่ยังไม่สำเร็จ เพราะส.ส.บางคนพิจารณาว่า ข้อเสนอไม่ได้ดำเนินตามระเบียบของมหาเถรสมาคม[41] การเข้าสภาครั้งที่ครั้งที่สอง โดย ทองม้วน อัตถากร ส.ส.มหาสารคาม ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2478 ให้เชิญพระใหญ่น้อยให้มาประชุม เพื่อร่างระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ในลักษณะการรวมนิกายสงฆ์ แต่เรื่องก็เงียบหายไป ในครั้งที่สาม โดย ทองอยู่ พุฒิพัฒน์ ส.ส.ธนบุรี เมื่อ 28 ธันวาคม 2479 รัฐบาลนำร่างพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ส่งไปยังมหาเถรสมาคม เพื่อทำความตกลงร่วมกันระหว่างคณะสงฆ์ และปรากฏว่ามหาเถรสมาคมยินยอมพิจารณาร่างนี้ โอกาสดังกล่าวนับเป็นชัยชนะเบื้องต้นของ คณะปฏิสังขรณ์ฯ[42]

 

พานรัฐธรรมนูญ สัญลักษณ์ของระบอบใหม่ที่กลายเป็นพุทธศิลป์ในวัดทั่วประเทศ
ภาพบน ลายฉลุพานรัฐธรรมนูญ สร้างราวปี 2477 วัดส้มเกลี้ยงคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
ภาพล่าง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจำลอง สร้างราวปี 2484 หน้าวัดแห่งหนึ่งใน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

ภาพขวาแผงคอสองวิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จ.ลำปาง เขียนขึ้นใหม่ตามแบบเดิม น่าจะทำขึ้นในปี 2482

 

ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ผ่านเวทีอันชอบธรรม

ร่างพระราชบัญญัตินี้ ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงวางโครงสร้างของคณะสงฆ์เท่านั้น แต่เป็นการเสนอเพื่อแตกยอดความคิดดังกล่าวออกไป มหาเถรสมาคมได้มีการคัดเลือกคณะกรรมาธิการขึ้น แบ่งเป็นฝ่ายมหานิกาย 3 รูป และฝ่ายธรรมยุต 2 รูป ส่วนการตัดสินจะอยู่ในมือคณะกรรมการในมหาเถรสมาคม ซึ่งในการประชุมเดือนกันยายน 2480 คณะกรรมการได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ถึง 3 ร่าง ได้แก่ ร่างของคณะกรรมาธิการ, ร่างของกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) และอีกร่างหนึ่งเป็นของธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีหลักการคล้ายกระทรวงธรรมการ[43] ข้อที่ต่างกันก็คือ มาตรา 5 ที่ร่างของคณะกรรมาธิการเน้นว่า ส่วนกลางให้ปกครองรวมกัน 2 นิกาย แต่ในส่วนภูมิภาคให้แยกกันปกครอง ขณะที่สองร่างหลัง เป็นข้อความกลางๆไม่ระบุว่ารวมหรือแยกแต่อย่างใด ที่น่าสังเกตก็คือ กรรมการมหาเถรสมาคม ฝ่ายมหานิกายต้องการร่างพ.ร.บ.ของคณะกรรมาธิการ เมื่อการลงมติในคราแรกในการโหวตเสียงเท่ากัน ร้อนถึงการต้องตัดสินด้วยการให้พระที่งดออกเสียงนั้นได้ออกเสียง ซึ่งพระที่เหลือนั้นเป็น มหานิกาย ทำให้กรรมการฝ่ายธรรมยุตไม่พอใจ ขณะที่ฝ่ายมหานิกายก็ไม่ยินยอม และในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็ประท้วงด้วยการลาออก แต่ความยุ่งยากนี้ไม่สิ้นสุดทำให้ที่ประชุมตัดสินใจส่งร่าง พ.ร.บ.ให้รัฐบาลเป็นผู้พิจารณา[44]

ร่างพ.ร.บ.นี้ถูกนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในเดือนสิงหาคม 2481[45] และได้นำเข้าสู่การประชุมลับและลงมติว่าแก้ไขพระราชบัญญัติ โดยสรุปว่าให้รวมการปกครองและแยกศาสนพิธีระหว่างทั้งสองนิกาย ไม่ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ด้วยคะแนน 61 เสียง[46]

อย่างไรก็ตาม ร่างพ.ร.บ.นี้ค้างเติ่งอยู่นานจนนายทองอยู่ เอี่ยมบุญอิ่ม ส.ส.จังหวัดนนทบุรี ทนไม่ไหวจึงยื่นกระทู้ถามรัฐบาลในปี 2483 เหตุผลของรัฐบาลก็คือ อยู่ในกระบวนการปรับแก้ไขกับคณะสงฆ์[47] ขณะที่สาเหตุเบื้องหลังนั้นมาจากความละเอียดอ่อนของปัญหาในคณะสงฆ์ที่รัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจ โดยเฉพาะเมื่อมีนักการเมืองตัวแทนจากทั้งมหานิกาย คือ หลวงวิจิตรวาทการ อดีตมหาเปรียญ 5 ประโยค สำนักวัดมหาธาตุ ขณะที่ฝ่ายธรรมยุต คือ ทองสืบ ศุภะมาร์ค อดีตมหาเปรียญ 9 ประโยค วัดมกุฏกษัตริยารามทั้งคู่จึงออกแรงปกป้องผลประโยชน์ให้กับฝ่ายของตนอย่างเต็มที่ [48]

จนกระทั่งร่าง พ.ร.บ.ได้เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในปี 2484 เมื่อเดือนกันยายน[49] และประกาศใช้ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ในวันที่ 14 ตุลาคม 2484 เป็นต้นมา นอกจากนั้นยังมีการแนบแถลงการณ์ เรื่อง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ด้วย แถลงการณ์นี้ได้เน้นว่า ได้รับความเห็นชอบของคณะสงฆ์ และได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วและย้ำว่าเป็นการปกครองสงฆ์ที่อนุโลมตามวิธีของบ้านเมือง ซึ่งอ้างว่าเป็นเช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าใช้ นอกจากนั้นยังระบุว่า พ.ร.บ.นี้ ยังเปิดทางให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก เมื่อเสร็จแล้วหรือไม่เกิน 8 ปีนับจากประกาศใช้พ.ร.บ. ให้ทำการรวมนิกายสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[50]

 

สายลมเปลี่ยน สังฆราชก็เปลี่ยนสาย

ก่อนที่จะมีการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.คณะสงฆ์สำเร็จ ก็ปรากฏว่า รัฐบาลคณะราษฎร ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีเดิมจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ให้พระฝ่ายธรรมยุตดำรงตำแหน่งพระสังฆราช เมื่อรัฐบาลสถาปนา สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสสฺเถระ) วัดสุทัศน์เทพวราราม เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มหานิกาย ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ในเดือนพฤศจิกายน 2481 โดยเหตุผลว่า อาวุโสและทรงคุณวุฒิที่สุด ที่น่าสังเกตคือ สมเด็จพระสังฆราชกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สิ้นพระชนม์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2480 นั่นหมายถึง ช่วงที่บัลลังก์ว่างเกือบปี และช่วงนั้นเอง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทน ปฏิบัติการทางการเมืองครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงฐานอำนาจการบริหารคณะสงฆ์ให้กลับมาสู่มหานิกาย สอดรับกับอำนาจการปกครองประเทศที่เปลี่ยนศูนย์กลางไปแล้ว[51]

สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสสฺเถระ) วัดสุทัศน์เทพวราราม เจ้าคณะใหญ่หนใต้ มหานิกาย ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ในเดือนพฤศจิกายน 2481 ดำรงตำแหน่งถึงปี 2487

 

ชัยชนะเบื้องต้นและการเอาคืนของมหานิกาย

หลังจากที่ฝ่ายมหานิกายได้โอกาสขึ้นมามีอำนาจบ้าง พบว่ามีการตีกลับในเชิงการเมืองในหลายกรณี ได้แก่ การรื้อฟื้นอธิกรณ์ (คดี) กรณีพระญาณนายกที่เคยถูกถอดสมณศักดิ์เนื่องจากรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำเรื่องขึ้นฟ้องศาล สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ก็โปรดให้คืนสมณศักดิ์ตามเดิมในปี 2482 นอกจากนั้นก็ยังให้ถอดพระราชกวี เจ้าคณะมณฑลปราจีนบุรีออกจากตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล เนื่องจากไม่รักษาความเป็นกลางระหว่างสงฆ์สองนิกายถ้าเป็นเจ้าคณะต่อไปเกรงจะเกิดความวุ่นวายไม่รู้จบ [52]

นอกจากนั้นยังมีกรณีที่มีการทำเรื่องขอโอนวัดธรรมยุติมาอยู่กับมหานิกาย ในช่วงปี 2482 เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ พระเมธาธรรมรส เจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติได้ทำเรื่องผิดร้ายแรงในสายตาของคณะธรรมยุต แต่สมเด็จพระสังฆราชพิจารณาว่า ไม่เหลือวิสัยที่จะแก้ไขได้จึงให้พระเมธาธรรมรสขอขมาต่อเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุตและเถรสมาคมคณะธรรมยุตในมหาเถรสมาคม แต่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะธรรมยุต ไม่รับขอขมา

ในส่วนที่ผิดวินัยและอาณัติสงฆ์ จนกล่าวว่าหากจะโอนไปขึ้นนิกายอื่นๆ คณะธรรมยุติก็ไม่ขัดข้อง ดังนั้น จึงได้มีการโอนวัดพิชัยญาติการาม ไปขึ้นกับมหานิกาย ใต้การปกครองเจ้าคณะแขวงใต้ธนบุรี [53]

อีกกรณีหนึ่งคือ เรื่องนาคหลวง ความเข้าใจผิดเรื่องนาคหลวงที่เข้าใจกันไปว่า นาคหลวงจะต้องเป็นพระธรรมยุตเท่านั้น เริ่มในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชในปี 2443-2464) ที่แบ่งพระอุปัชฌาย์เป็นสองฝ่ายอย่างเด็ดขาด ประกอบกับช่วงนั้นเป็นช่วงที่ธรรมยุตเฟื่องฟูและเป็นที่นิยม ทำให้นาคหลวงแทบทั้งหมดจึงเป็นฝ่ายธรรมยุต นั่นจึงทำให้เข้าใจผิดกันไปว่า ผู้ที่มาบวชมาเป็นนาคหลวงจะเป็นพระธรรมยุตเท่านั้น ขณะที่ประเพณีก่อนหน้านั้นสมเด็จพระสังฆราชจะรับเป็นพระอุปัชฌาย์ของนาคหลวงทั้งสองนิกาย หากต้องการบวชในธรรมยุตก็ให้ไปบวชซ้ำที่วัดบวรนิเวศ ดังนั้นหลังจากที่แต่งตั้ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ซึ่งเป็นพระมหานิกาย เรื่องการบวชนาคหลวงก็ให้ย้อนกลับไปเหมือนเดิมคือ สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์นาคหลวงทั้งสองนิกาย [54] ทำสังฆกรรมร่วมกันได้อีกครั้ง นี่คือ ส่วนหนึ่งของการตีกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้งของฝ่ายมหานิกาย

 

พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ก็คือ รัฐธรรมนูญแห่งพุทธจักรไทยนั่นแล

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ได้สะท้อนฐานความคิดทางการเมืองของสังคมไทยในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การรื้อโครงสร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรสงฆ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่หัวอย่างพระสังฆราชลงมา การแบ่งโครงสร้างการบริหารการปกครองใหม่ที่มีการแบ่งแยกอำนาจ และคานอำนาจระหว่างกัน เพื่อรองรับการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในวงการสงฆ์เองที่นับวันจะซับซ้อนขึ้น การออกแบบโครงสร้างใหม่นี้ก็เพื่อสร้างหลักการร่วมกันโดยมิต้องยึดอยู่กับปัญหาบุคคล ที่เป็นต้นตอความไม่ชอบมาพากลอันเนื่องมาจากอคติทั้งปวง สอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจตามหลักอธิปไตยที่ระบอบประชาธิปไตยได้สถาปนาขึ้น

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ อาจจำแนกได้เป็นสามประการ ได้แก่ [55]

ประการแรก ยุบเลิกมหาเถรสมาคม ที่ทำหน้าที่องค์กรปกครองสงฆ์หนึ่งเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จอยู่กับตัวเอง ในโครงสร้างใหม่นี้ได้แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วนได้แก่ สังฆสภา ถืออำนาจนิติบัญญัติ สังฆมนตรีถืออำนาจบริหาร และคณะวินัยธร ถืออำนาจตุลาการ เพื่อถ่วงดุลอำนาจการบริหารคณะสงฆ์เช่นเดียวกับการปกครองฝ่ายอาณาจักร

ประการที่สอง หลังจากที่มหาเถรสมาคมหายไปจากโลก กฎหมายก็ยังจำกัดอำนาจสมเด็จพระสังฆราชด้านบริหารคณะสงฆ์ให้มีอำนาจแต่เพียงในนาม ดังนั้นเอาเข้าจริงแล้วตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแทบจะไม่มีความหมายใดๆในการบริหาร แต่เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเป็นประมุขของฝ่ายสงฆ์ กล่าวได้ว่าทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยลำพังมิได้ ซึ่งในวิธีคิดแบบนี้ทำให้พระสังฆราชไม่ต้องรับผิดชอบการบริหาร เนื่องจากว่าอำนาจการบริหารอยู่ที่สังฆนายกและคณะสังฆมนตรีแล้ว จึงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ เช่นเดียวกับกษัตริย์ในฝ่ายของอาณาจักร

ประการที่สาม วางลู่ทางที่จะรวมนิกายสงฆ์ให้เป็นนิกายเดียวกัน ตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 60 เพื่อที่จะทำสังคายนาพระธรรมวินัยในเวลา 8 ปี เพื่อรวมนิกายสงฆ์

เรามาทำรู้จักกันว่า องค์กรที่ถืออำนาจอธิปไตยของคณะสงฆ์ในสมัยนั้น มีหน้าตาเป็นอย่างไรกัน

 

อำนาจที่หนึ่ง สังฆสภา

สมาชิกสังฆสภา กำหนดไว้ว่ามีจำนวนไม่เกิน 45 รูป ประกอบด้วยสมาชิกได้แก่ พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป, พระคณาจารย์เอก, พระเปรียญเอก (ตั้งแต่เปรียญ 7-9) คัดมาจากพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติถึง แต่หากมีจำนวนมากจะคัดตาม "ลำดับอาวุโส" [56] ประธานและรองประธานสภา สมเด็จพระสังฆราชก็จะเป็นคนแต่งตั้งจากสมาชิกสังฆสภา[57] อนึ่ง สมาชิกสังฆสภาไม่ได้เกิดจากการ "เลือกตั้ง" แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามกฎหมายได้เปิดช่องให้ตั้ง "คณะกรรมการวิสามัญ" ที่ไม่จำเป็นต้องสมาชิกสังฆสภา เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการประชุม หากมีความรู้ความสามารถ และคณะกรรมาธิการยังมีอำนาจนิมนต์ภิกษุ หรือเชิญผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการมาแสดงความคิดเห็นกิจการที่กระทำอยู่[58] สิ่งเหล่านี้เป็นการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้คณะสงฆ์และผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมได้กว้างขวาง

อำนาจหน้าที่ของสังฆสภา มีหน้าที่ในการออกสังฆาณัติ (เทียบได้กับพระราชบัญญัติ) กติกาสงฆ์(พระราชกฤษฎีกา) กฎองค์การ (กฎกระทรวง) พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช (พระบรมราชโองการ) ข้อบังคับ (กฎสำนักนายกรัฐมนตรี) และระเบียบ (ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี) ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับพระธรรมวินัย[59] เพื่อไม่ให้การดำเนินการของคณะสงฆ์เป็นที่กังขาต่อพระธรรมวินัย หรือขัดกับพระไตรปิฏก จึงได้มีการระบุไว้เลยว่า หากมีข้อสงสัยในญัตติต่างๆ ให้ตีความโดยรักษาพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัดไม่จำเป็นต้องลงมติ หรือใช้เสียงข้างมาก[60]

การเสนอญัตติเข้าประชุมสภาที่มีอยู่สามทาง ได้แก่ จากคณะสังฆมนตรี จากกระทรวงศึกษาธิการ และจากสมาชิกสังฆสภา แต่ในส่วนสมาชิกสังฆสภา จะเสนอได้ก็ต้องให้สังฆนายกรับรองเสียก่อน[61] อำนาจของตำแหน่งนี้จึงทำให้ทั้งฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติพยายามผลักดันพระสงฆ์ของตนขึ้นดำรงตำแหน่งสังฆนายก ซึ่งในที่สุดฝ่ายธรรมยุตก็คว้าความได้เปรียบนี้ไปเมื่อตำแหน่งอยู่ที่ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) แห่งวัดบรมนิวาส สายธรรมยุต รัฐบาลประกาศแต่งตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2485[62]

กระนั้นความละเอียดอ่อนในระบบการปกครองใหม่นี้คงจะเป็นความกังวลใจของรัฐบาล จนถึงต้องกับห้ามโฆษณาข้อความที่เกี่ยวกับการประชุมสังฆสภา คณะกรรมาธิการสังฆสภา คณะสังฆมนตรี หรือคณะกรรมการที่คณะสังฆมนตรีตั้งขึ้นให้พิจารณาเป็นการลับ จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[63]

การออกแบบโครงสร้างของสังฆสภา คงล้อมาจากสภาผู้แทนราษฎรที่ให้อำนาจของสภาเป็นใหญ่ นั่นคือ กรณีที่พระสังฆราช ไม่เห็นด้วยกับร่างสังฆาณัติ อันเป็นเสมือนกับ กฏหมายเทียบเท่าพระราชบัญญัติ จะคืนมายังสังฆสภาหรือไม่ก็ตาม สังฆสภาจะปรึกษากันและออกเสียงคะแนนลับ ถ้าสังฆสภายังมีมติตามเดิมให้ถวายสังฆราชอีกครั้ง หากยังมีปัญหา ก็ให้นำร่างส่งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพิจารณา ถ้าเห็นสมควร ให้นำเสนอประธานสังฆสภาแล้วให้ประธานสังฆสภาลงนาม ประกาศใช้สังฆาณัตินั้นได้เลย[64]

สังฆสภาชุดแรกที่ได้รับการประกาศในปี 2485 มีจำนวน 41 รูป มีการเปิดประชุมสังฆสภาสมัยสามัญครั้งแรกวันที่ 29 พฤษภาคม 2485 ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ ถือว่าเป็นงานรัฐพิธี สมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธาน จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปร่วมงานจำนวนมากต่อมามีการประชุมคัดเลือกประธานและรองประธานสังฆสภา[65] ประธานสังฆสภารูปแรกคือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ[66] สายมหานิกาย ซึ่งตามหลักแล้วแม้พระมหานิกายจะดำรงตำแหน่งสำคัญอยู่ที่พระสังฆราช และประธานสังฆสภา แต่ก็ถือว่าเสียรังวัดอย่างมากที่ปล่อยให้พระฝ่ายธรรมยุตครองตำแหน่งสังฆนายกที่จะมีบทบาทและอำนาจในการบริหารเป็นอย่างมาก

 

อำนาจที่สอง คณะสังฆมนตรี

ประกอบด้วยสังฆนายก 1 รูป และสังฆมนตรีอีกไม่เกิน 9 รูป ผู้แต่งตั้งก็คือ สมเด็จพระสังฆราช กำหนดไว้ว่า สังฆนายก และสังฆมนตรีอย่างน้อย 4 รูปต้องมาจากสังฆสภา นอกจากนั้นอาจเลือกภิกษุผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ แม้มิได้เป็นสมาชิกสังฆสภาก็ได้ [67] สังฆมนตรีที่ทำหน้าที่คล้ายรัฐมนตรี มีวาระการดำรงตำแหน่งอยู่ที่ 4 ปี [68]

 คณะสังฆมนตรีนั้นจะมีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค คล้ายคลึงกับฝ่ายราชอาณาจักร ส่วนกลางประกอบด้วย 4 องค์การ (คล้ายกระทรวง) ได้แก่ องค์การปกครอง (คล้ายกระทรวงมหาดไทย) องค์การศึกษา (คล้ายกระทรวงศึกษาธิการ) องค์การเผยแพร่ องค์การสาธารณูปการ[69] และกฎหมายเปิดช่องให้เพิ่มองค์การอื่นได้ตามความเหมาะสม คณะสังฆมนตรีมีอำนาจและหน้าที่เต็มในการบริหารและบังคับบัญชาผู้กระทำผิด เมื่อมีอำนาจก็ต้องมีการรับผิดชอบ สังฆนายกและสังฆมนตรีต้องรับผิดชอบการบริหารร่วมกันในกิจการทั่วไป[70]

ในด้านธุรการและการประสานงาน พ.ร.บ.กำหนดตำแหน่ง เลขาธิการสังฆสภา ที่เป็นคนจากกรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสังฆสภาและสำนักงานเลขาธิการคณะสังฆมนตรี เพื่อการนี้ให้มีสิทธิเสนอคำชี้แจงในคณะสังฆมนตรีด้วย [71] จึงนับเป็นตัวเชื่อมระหว่างการทำงานฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักรอีกส่วน[72]

 

อำนาจที่สาม คณะวินัยธร

เป็นคณะสงฆ์ผู้พิจารณาคดีหรือวินิจฉัยอธิกรณ์ หมวดนี้ ไม่ได้ระบุรูปแบบที่ชัดเจน เปิดช่องให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยและสังฆาณัติที่จะบัญญัติอย่างรอบคอบต่อไป

ในพระราชบัญญัตินี้ เห็นได้ชัดว่า รัฐบาลและสภาเห็นความสำคัญกับส่วน "สังฆสภา" เนื่องจากมีเนื้อหาและรายละเอียดมากที่สุด คือ กว่า หน้า ขณะที่รองลงมาคือ "คณะสังฆมนตรี" 4 หน้า นอกจากนั้นในหมวด "วัด" ก็นับเป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดที่สัมพันธ์กับประชาชน ขณะที่หมวด "สมเด็จพระสังฆราช" "สาสนสมบัติ" (สะกดแบบเดิม) และ "คณะวินัยธร" มีรายละเอียดน้อยมาก

ภาพซ้าย สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ประธานสังฆสภารูปแรก จากฝ่ายมหานิกาย
ภาพขวา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สังฆนายกรูปแรก จากฝ่ายธรรมยุต

การสลายตัวของ "คณะปฏิสังขรณ์"

อาจกล่าวได้ว่า หลังจากที่ส่งไม้ถึงรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎรรับในหลักการแล้วว่าจะแก้ไขพ.ร.บ.ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ก็ทำให้คณะปฏิสังขรณ์ฯ ค่อยๆ สลายตัวตามลำดับ โดยมีสาเหตุจาก การลาสิกขาของสมาชิก เช่น พระมหาแย้ม ประพัฒน์ทอง ลาสิกขาในปี 2479 พระมหาประหยัด (ประหยัด ไพทีกุล) ลาสิกขาในปี 2481 รวมถึงสาเหตุจากการโยกย้ายวัดและโยกย้ายตำแหน่ง ออกไปจากกรุงเทพฯ[73] นอกจากนั้นคณะปฏิสังขรณ์ฯยังถูกเพ่งเล็งจากเจ้านายชนชั้นสูงในฐานะภัยต่อความมั่นคง ดังที่พบหลักฐานว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขียนจดหมายถึงสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (น่าจะอยู่ราวๆปี 2477-ผู้เขียน) มีข้อความที่เรียกคณะปฏิสังขรณ์ว่า "พระเก๊กเหม็ง" ทั้งยังมองการเคลื่อนไหวครั้งนี้ว่าเป็นวิธีการแทรกซึมบ่อนทำลายของขบวนการคอมมิวนิสต์ที่จะ "ทำลายศาสนา" นั่นก็คงเนื่องด้วยว่า พระเหล่านี้มีความใกล้ชิดกับปรีดี พนมยงค์ และถวัติ ฤทธิเดชนั่นเอง[74] คณะปฏิสังขรณ์ฯ จึงแทบจะไม่มีเหตุผลที่จะดำรงอยู่อีกต่อไป จึงค่อยๆเสื่อมสลายไปในที่สุด 

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ยืนเท้าสะเอว) เขียนถึงสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (นั่งบนรถไฟ? เสื้อขาว) ได้เรียกคณะปฏิสังขรณ์ว่า "พระเก๊กเหม็ง" ภาพนี้แสดงถึงวัยสนธยาของทั้งสอง

 

การเปลี่ยนแปลงคณะสงฆ์ จาก พ.ร.บ.ฉบับประชาธิปไตย
ผลงานที่ถูกลบหายจากความทรงจำ

การดำเนินการตามพระราชบัญญัติที่มีโครงสร้างที่เป็นธรรมมากขึ้น และเปิดช่องทางให้พระสงฆ์ปฏิบัติงานตามความสามารถมากกว่าเดิมที่รวมศูนย์อยู่ที่มหาเถรสมาคม พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์ ได้แบ่งผลงานที่มาจากการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ในพ.ร.บ.ตัวใหม่นี้ ให้เห็นเป็นผลงานอันน่าตื่นตาตื่นใจ 2 ช่วง ได้แก่

ระยะแรก ปี 2485-2490 เป็นระยะปรับตัวเตรียมงานปกครอง เป็นช่วงที่มีการออกสังฆาณัติ ออกระเบียบมากที่สุด เช่น สังฆาณัติระเบียบบริหารคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค พ.ศ.2485, สังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ.2486, สังฆาณัติระเบียบพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2487 เป็นต้น นอกจากนั้นถือว่ามีการตื่นตัวทางการศึกษาขึ้นมาก โดยเปิดการศึกษาวิชาการฝ่ายสามัญเป็นครั้งแรกอย่างจริงจังในระดับมหาวิทยาลัยคือ มหามกุฏราชวิทยาลัย ปี 2489 และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ปี 2490 นับเป็นการเตรียมผลิตบุคลากรเพื่อเข้าไปดำเนินการปกครองสงฆ์ต่อไป[75]

ระยะที่สอง ปี 2490-2503 เป็นระยะทำงานเชิงรุก นับเป็นยุคที่คณะสงฆ์ไทยเฟื่องฟูขึ้นมาก เพราะมีความพร้อมทางด้านบุคลากรที่เข้าใจ พ.ร.บ.มากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (คล้าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ของ พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุ ได้มีการทำงานเชิงรุก โดยส่งพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ไปยังภูมิภาคต่างๆ และนำพระสังฆาธิการและพระสงฆ์มาอบรมที่วัดมหาธาตุ ทั้งยังส่งภิกษุไปดูงานและเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ[76]

หากเปรียบกับรัฐบาลทางโลกที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่อสังคมไทยแล้ว ผลงานของรัฐบาลคณะสงฆ์ที่คู่ขนานกันไปนั้นสัมฤทธิผลอย่างน่าสนใจ สามารถจำแนกได้ดังนี้

1) การกำหนดเขตการปกครองคณะสงฆ์ มีการแบ่งหน่วยปกครองลดหลั่นไปในระดับภาค จังหวัด อำเภอ

ตำบลและวัด ในระดับภาค เดิมแบ่งตามเขตภาคปกครองของบ้านเมือง ต่อมาปรับให้เหมาะสมกับฝ่ายสงฆ์แบ่งเป็น 5 ภาค เจ้าคณะภาคขึ้นตรงต่อสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง[77] ต่อมาในระดับจังหวัด แม้จะมีเจ้าคณะจังหวัดแต่ก็ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเผด็จการ แต่เป็นเพียงหัวหน้าคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดก็ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆทั้ง 4 ดังที่กล่าวไปแล้ว เช่นเดียวกับระดับอำเภอก็มีเจ้าคณะอำเภอ และคณะกรรมการสงฆ์อำเภอที่ดูแลอยู่ด้วย[78] รองลงมาคือระดับตำบล และเจ้าอาวาสวัด ที่ไม่ได้มีกรรมการใด

2) การแต่งตั้งเลื่อนชั้นผู้ปกครองคณะสงฆ์ พระสงฆ์ผู้ทำการปกครองจะเรียกว่า "พระคณาธิการ" แบ่งเป็น 2

ส่วนคือ ส่วนกลาง อันประกอบด้วย สังฆมนตรีและเลขานุการสังฆมนตรี และส่วนภูมิภาค ได้แก่ เจ้าคณะตรวจการภาคลงไปจนถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาส[79] ซึ่งการแต่งตั้งและเลื่อนชั้นนั้นจะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ พบว่าสิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงผลงานของคณะสงฆ์ในแต่ละปีเป็นอย่างดี โอกาสที่จะใช้วิธีที่ไม่ถูกต้องในการนำมาซึ่งยศและตำแหน่งระดับสูง โดยปราศจากการตรวจสอบจึงเป็นไปได้ยาก[80]

3) การแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ พระราชบัญญัตินี้บ่งบอกคุณสมบัติที่ควรจะเป็นและแก้ไขความบกพร่องจาก

พ.ร.บ.เดิม นั่นคือยกเว้นพระอุปัชฌาย์ที่เคยเป็นมาก่อน สังฆาณัตินี้ให้เป็นอยู่ต่อไป[81] และยุคนี้แทบจะไม่มีปัญหาอุปัชฌาย์เถื่อนแล้ว เนื่องจากความรู้ความเข้าใจนั้นมีมากขึ้นแล้ว[82]

4) การก่อตั้งและขยายสำนักวิปัสสนา โดยหลักการนับได้ว่าภารกิจของพระสงฆ์มีอยู่ ประการ ก็คือ คันถ

ธุระ การศึกษาเล่าเรียน และ วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สังฆนายกองค์แรก ได้ทำการรวบรวมวัดป่าในเขตอีสานขึ้นต่อคณะสงฆ์ธรรมยุตเกือบทั้งหมด นอกจากนั้นยังพบว่ามีฝ่ายมหานิกายไม่น้อยที่เลื่อมใสข้อวัตรของธรรมยุติแล้วหันไป อุปสมบทแปรญัตติใหม่ แม้จะมีพรรษากว่า 10พรรษาแล้วก็ตาม ซึ่งภายในเวลาไม่ถึงสิบปี พบว่าธรรมยุตได้ตั้งมั่นในเขตอีสานตอนบนและล่างแทบทั้งหมด ทำให้ฝ่ายมหานิกายตื่นตัวว่าได้สูญเสียสมาชิกจำนวนมากจึงทำให้ฝ่ายมหานิกายให้ความสนใจกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้น[83] พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ได้ส่งเปรียญวัดมหาธาตุไปศึกษาพุทธศาสนาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระที่พม่าในปี 2495 และยังให้พระเถระพม่าเข้ามาสอน โดยเปิดสอน ณ อุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา ปรากฏว่าเป็นที่สนใจกันมาก[84] การแข่งขันดังกล่าวจึงส่งผลให้การศึกษาของพุทธศาสนาขยายตัวคึกคักมากขึ้น

5) การควบคุมความประพฤติพระภิกษุสามเณร คณะสังฆมนตรีได้ประชุมอกประกาศชี้แจงหรือห้ามในเรื่อง

ต่างๆ เช่น ประกาศคณะสงฆ์ พ.ศ.2489 ห้ามจัดให้มีการพนันในบริเวณวัด, พ.ศ.2489 ห้ามภิกษุสามเณรแสดงตนเป็นอาจารย์บอกเลข สลากกินแบ่ง หรือสลากกินรวบ, พ.ศ.2490 ห้ามมีระบำในวัด, พ.ศ.2495 ห้ามภิกษุสามเณรเรียกเงินค่าเวทมนต์และห้ามทดลองของขลัง, พ.ศ.2496 ห้ามบรรพชิตรับบุตรบุญธรรม, พ.ศ.2499 ห้ามเปิดการแข่งขันชกมวยในวัด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมที่สลับซ้อนมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2500 ได้ตั้งกองวินยาธิการเพื่อกวดขันความประพฤติโดยเฉพาะ ซึ่งนับว่าวางแผนงานในการควบคุมความประพฤติอย่างเป็นระบบและทันท่วงที[85]

ในส่วนของคณะวินัยธรพบว่า สังฆาณัติให้ใช้ระเบียบวิธีพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ พ.ศ.2486 นับเป็นกระบวนการพิจารณาอธิกรณ์ที่เป็นธรรมที่สุดในด้านนิตินัย เนื่องจากมีการมอบหมายงานอย่างอิสระโดยไม่ก้าวก่ายงานปกครอง ขณะที่การสอบสวนก็สร้างระบบที่ตัดผู้เกี่ยวข้องกับคดีออกไป [86]

พระราชบัญญัตินี้นับได้ว่าสร้างเงื่อนไขให้ ภิกษุฝ่ายมหานิกายได้มีอำนาจทางการเมืองในการปกครองสงฆ์

มากขึ้นอย่างไม่เคยทำได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คณะสงฆ์ยังสามารถจัดการบริหารกันเองได้ โดยมีการแทรกแซงจากฝ่ายอาณาจักรไม่มากนัก ซึ่งต่างจากการพิจารณาแบบ พ.ร.บ.เก่า เนื่องจากได้มอบอำนาจพิจารณาคดีไว้ที่ต้นสังกัดของผู้กระทำผิด จึงนับว่าเป็นระบบที่มีปัญหาเรื่องอคติและผลประโยชน์ระหว่างกัน[87]

 

ส่งท้าย เพื่อส่งต่อ

นี่คือ ผลงานของคณะปฏิสังขรณ์ พระสงฆ์ร่วมสมัย คณะราษฎรและยุคสมัยที่อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือประชาชน ที่เป็นบทขับขานแห่งชัยชนะของพลังประชาธิปไตย เป็นชัยชนะที่ได้มาจากการต่อสู้กับสังคมเก่าด้วยหลักการและเหตุผล รวมถึงหมากกลทางการเมือง ก่อนที่เราจะอิ่มเอมใจไปกับชัยชนะ ต้องไม่ลืมว่าการสูญเสียตำแหน่งแห่งที่ ลาภ ยศ สรรเสริญของพระสายธรรมยุต ได้สั่งสมความขุ่นเคืองไม่พอใจอยู่ลึกๆ ไม่นับถึงความขัดแย้งร้าวฉานภายในของพระสงฆ์มหานิกายเอง และพ.ร.บ.นี้ก็ไม่ได้ไปไกลมากถึงกับการท้าทายศักดินาและการแบ่งแยกลำดับชั้นสูงต่ำในคณะสงฆ์ ดังที่เราเห็นว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญยังเป็นพระระดับ Elite ของสังคมไทย พระรุ่นใหม่ในนามคณะปฏิสังขรณ์ฯ ไม่ได้ขึ้นมามีอำนาจดุจดังที่คณะราษฎรทำได้สำเร็จ และเหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้นไปอีกเมื่อผนวกกับสถานการณ์ทางการเมืองที่พลิกผันเมื่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมกลับมายึดกุมอำนาจนำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การกำชัยชนะเพื่อเป็นแชมป์ว่ายากแล้ว แต่การรักษาแชมป์ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องนั้นยากยิ่งกว่า

และนี่คือ สถานการณ์ของรัฐบาลคณะราษฎรและผู้สนับสนุนพ.ร.บ. คณะสงฆ์ 2484 จะต้องเผชิญอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

 

(โปรดติดตาม ตอนที่ 2 มรณกรรมใต้ตีนเผด็จการ เร็วๆนี้)



[1] "คำประกาศสำนักพิมพ์นิติราษฎร์" ใน "สำนักพิมพ์นิติราษฎร์ อีกหนึ่งภารกิจนิติศาสตร์เพื่อราษฎร" .ประชาไทออนไลน์. http://www.prachatai.com/journal/2011/10/37369 (12 ตุลาคม 2554)
[2] "ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์" ใน ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 19 หน้า 295 วันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ.121, น.295-296
[3] "ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์" ใน ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 19 หน้า 295 วันที่ 20 กรกฎาคม ร.ศ.121, น.295-296อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ไม่ได้ประกาศบังคับใช้ในประเทศ การเข้าไปควบคุมคณะสงฆ์ด้วยตัวกฎหมายได้ทยอยไปในปีต่างๆเช่น ปี 2445 ในมณฑลกรุงเทพฯ, มณฑลกรุงเก่า, มณฑลพิศณุโลก, มณฑลนครศรีธรรมราช, มณฑลนครราชสีมา, มณฑลราชบุรี, มณฑลปราจิณบุรี, มณฑลนครสวรรค์, มณฑลนครไชยศรี, มณฑลชุมพร, มณฑลภูเก็จ, มณฑลจันทบุรี, มณฑลอิสาณ และมณฑลบูรพา ขณะที่มณฑลอุดรในปี 2451 สุดท้ายที่มณฑลมหาราษฎร์ มณฑลพายัพและมณฑลปัตตานีในปี 2467
[4] ดูในการเสวนา การเสวนาเรื่อง "เจาะลึก …..พ.ร.บ.สงฆ์" 11 เมษายน 2545 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, ไพศาล พืชมงคล, วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แะดนัย เอกมหาสวัสดิ์http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004957.htm (17 เมษายน 2545)
[5] คนึงนิตย์ จันทบุตร. การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ.2477-2484 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2528, น.16
[6] Kenneth P. Landon. Siam in Transition : A Brief survey of cultural trends the years since the Revolution of 1932 (New York : Green Wood Press), 1968, p.216-217 และ Virginia Thompson. Thailand: The New Siam (New York : Paragon Book Reprint Corporation), 1967, p.623-672 อ้างใน พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. การปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539, น.78
[7] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.78
[8] ดูการต่อสู้ทางการเมืองที่ซับซ้อนทั้งใต้ดินและบนดินของฝ่ายเจ้า ใน ณัฐพล ใจจริง ' "คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร" : การก่อตัวของ "ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ' ใน ฟ้าเดียวกัน 6 : 1 (มกราคม-มีนาคม 2551)
[9] คนึงนิตย์ จันทบุตร. การเคลื่อนไหวของยุวสงฆ์ไทยรุ่นแรก พ.ศ.2477-2484 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2528, น.66
[10] แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 20 (2475), น.715 อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.67-68
[11] แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 20 (2475), น.716 อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.69
[12] ดุษฎี พนมยงค์. "ร้านกาแฟ Cafe de la Paix ในกรุงปารีส กับนายปรีดี พนมยงค์" ใน ข่าวสดออนไลน์ .http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEUzTURnMU1nPT0= (17 สิงหาคม 2552) บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า ร้านกาแฟ Cafe de la Paix ที่คนมักอ้างว่าเป็นแหล่งพบปะพูดคุยเพื่อการทำปฏิวัตินั้นไม่เป็นจริง เนื่องจากว่าเป็นร้านกาแฟที่หรูหราและมีราคา รวมถึงการยืนยันจากบันทึกความทรงจำของ พูนสุข พนมยงค์
[13] ไทยใหม่, ปีที่ 5 ฉบับที่ 69 (22 กุมภาพันธ์ 2477) อ้างใน คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.73
[14] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.75
[15] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.106-107
[16] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.108
[17] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.70
[18] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.81
[19] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.98
[20] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.100
[21] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.63-65
[22] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.84-85
[23] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.86
[24] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.87
[25] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.87
[26] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.88-89
[27] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.90
[28] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.111
[29] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.114-115
[30] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.117
[31] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.117
[32] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.119-120
[33] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.120
[34] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.122
[35] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.120
[36] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.123
[37] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.129
[38] แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.150-151
[39] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.129
[40] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.129-131
[41] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.141
[42] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.142
[43] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.142-143
[44] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.144-146
[45] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.147
[46] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.150 และ 153
[47] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.105-106
[48] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.107-108
[49] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.108-109
[50] "แถลงการณ์ เรื่อง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1415
[51] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.159-161
[52] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.205
[53] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.205
[54] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.212-213
[55] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.113
[56] มาตรา 11 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1394
[57] มาตรา 12 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1394
[58] มาตรา 25 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1399
[59] มาตรา 22 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1398 การเทียบเคียงลำดับชั้นทางกฎหมาย ดูใน โชติ ทองประยูร. กฎหมายสงฆ์ฉบับเก่า ภาค3 พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2484, น.3.51 อ้างใน เชิงอรรถ พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.122
[60] มาตรา 17 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1396
[61] มาตรา 16 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1396
[62] แสวง อุดมศรี. การปกครองคณะสงฆ์ไทย (กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย), 2533, น.190
[63] มาตรา 27 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1400
[64] มาตรา 24 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1399
[65] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.127-128
[66] แสวง อุดมศรี. เรื่องเดียวกัน, น.176-186
[67] มาตรา 29 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1401
[68] มาตรา 31 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1401
[69] มาตรา 33 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1402-1403
[70] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.130
[71] มาตรา 59 ใน "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58, วันที่ 14 ตุลาคม 2484, น.1409
[72] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.124-125
[73] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.217-218
[74] คนึงนิตย์ จันทบุตร. เรื่องเดียวกัน, น.219-220
[75] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.137
[76] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.138
[77] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.139-140
[78] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.141-142
[79] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.144
[80] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, 2539, น.146
[81] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, 2539, น.148
[82] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, 2539, น.149
[83] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.154-155
[84] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.156
[85] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.158-159
[86] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.184
[87] พระมหาวรชัย กลึงโพธิ์. เรื่องเดียวกัน, น.184-185